!-- AdAsia Headcode -->

สปสช. เผยวิธีการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) ง่ายกว่าที่คิด

15 พฤษภาคม 2563, 14:49น.


   สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือที่เรียกกันว่า สิทธิบัตรทอง 30 บาทเป็นสิทธิตามกฎหมายที่คุ้มครองคนไทย ที่ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการข้าราชการ หรือสิทธิประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ หรือสิทธิหน่วยงานรัฐอื่นๆ ให้มีสิทธิเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต รวมถึงบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายประกอบโรคศิลปะ ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประกาศกำหนด โดยวิธีการขอรับสิทธิ ก็มีขั้นตอนง่ายๆ ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด มาดูกันดีกว่าการขอรับสิทธิในแต่ละประเภทต้องทำอะไรกันบ้าง?

   เจ็บป่วยทั่วไป 

    - ติดต่อหน่วยบริการปฐมภูมิ

    - แจ้งความจำนงใช้สิทธิ

    - แสดงบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี แสดงสูติบัตร)



    เจ็บป่วยฉุกเฉิน วิกฤตถึงแก่ชีวิต

   - เข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

   - แสดงบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี แสดงสูติบัตร)

   - เมื่ออาการพ้นวิกฤต จะส่งตัวผู้ป่วยกลับไปยัง หน่วยบริการประจำตามสิทธิ หรือหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่พร้อมให้การรักษาต่อไป



     อุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน

   - เข้าหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ใกล้ที่สุด (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)

   - แสดงบัตรประจำตัวประชาชน (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี แสดงสูติบัตร)

   หมายเหตุ : กรณีประสบภัยจากรถ ต้องใช้สิทธิรักษาตามวงเงิน .. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก่อน ส่วนเกินถังจะใช้สิทธิบัตรทองได้ หรือโทรสอบถามสายด่วน สปสช. 1330 หรือสายด่วน 1186 สายด่วนกองทุนผู้ประสบภัยจากรถได้เลย



  โดยสิทธบัตรทอง จะเปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ 4 ครั้ง เมื่อผู้ต้องการใช้สิทธิจำเป็นต้องย้ายภูมิลำเนา ย้านถิ่นฐาน ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพสามารถขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ 4 ครั้ง/ปีงบประมาณ โดยเอกสารที่ใช้ มีดังนี้

   1) บัตรประจำตัวประชาชน หรือสูติบัตร

   2) ทะเบียนบ้าน หรือหนังสือรับรองการพักอาศัย (กรณีที่อยู่ไม่ตรงตามบัตรประจำตัวประชาชน)

   3) แบบคำร้องขอลงทะเบียน (รับได้ที่สุดลงทะเบียน)



   สำหรับช่องทางการติดต่อ จะแบ่งออกเป็น 4 หน่วยงานดังนี้ 

    1)โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)

    2) โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน

    3) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 1-13

    4) สำนักงานเขต ของกรุงเทพมหานคร ที่เปิดรับลงทะเบียน (ในวันและเวลาราชการ)

    หมายเหตุ: การเข้ารับบริการ หน่วยบริการแห่งใหม่ สามารถใช้สิทธิได้หลังแจ้งความจำนงเปลี่ยนหน่วยบริการประมาณ  1 เดือน



 

X