สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) นำศักยภาพองค์ความรู้และทักษะเชิงช่างของอาชีวศึกษามาช่วยแก้ปัญหา "วิกฤตโควิด-19" โดย นายณรงค์ แผ้วพลสงค์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ชี้แจงว่า ทีมนักประดิษฐ์ ทั้งครูและนักศึกษาของสอศ.ในสถานศึกษาทุกภูมิภาค ประสานกับโรงพยาบาล เพื่อสำรวจความต้องการ ความจำเป็นในกระบวนการตรวจรักษาและให้ดำเนินการคิดค้นและประดิษฐ์ อุปกรณ์ที่สร้างความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19ในการดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์อย่างเร่งด่วนนั้น ขณะนี้ ทีมนักประดิษฐ์ ของ สอศ.ได้ ออกแบบประดิษฐ์อุปกรณ์ สนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมแพทย์
เช่น
-วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ ออกแบบผลิตหน้ากากแบบโปร่งใสกันเชื้อไวรัส
-วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สร้างเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ที่ออกแบบและผลิตหน้ากากโปร่งใสป้องกันเชื้อ มีกรอบใสป้องกันการฟุ้งกระจายในการรักษาผู้ป่วย
-วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรีออกแบบและผลิตเคาน์เตอร์ป้องกันการแพร่กระจายของสารคัดหลั่งในการคัดกรองผู้ป่วย
-วิทยาลัยสารพัดช่างฉะเชิงเทราออกแบบและผลิตเตียงป้องกันการติดเชื้อในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย -วิทยาลัยเทคนิคสุราษฏร์ธานีออกแบบและผลิตเครื่องกำจัดหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว และตู้พ่นยาฆ่าเชื้ออัตโนมัติ
-วิทยาลัยเทคนิคชุมแพ - วิทยาลัยสารพัดช่างระยอง ออกแบบและผลิตอุโมงค์ในการฆ่าเชื้อของผู้ที่มารับบริการ
-วิทยาลัยเทคนิคถลาง ได้จัดทำกล่องป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดย มีสถานีประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (FabLab) ที่สามารถผลิตชิ้นงานได้ และนำไปมอบให้โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต และทีมวิทยาลัยอีกหลายแห่งทั่วประเทศก็ช่วยกันผลิตหน้ากากผ้าแบบมีแผ่นกรองที่สามารถใช้ซ้ำได้จำนวนอีกหลายแสนชิ้นเพื่อกระจายให้ตามหน่วยงานต่างๆนับว่าเป็นการรวมพลังคนอาชีวะอย่างแท้จริง
ทั้งนี้นายณรงค์ แผ้วพลสงค์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ยังได้มอบหน้ากากอนามัย จำนวน 2,000 ชิ้น ให้กับ จส.100 เพื่อส่งมอบให้กับประชาชน และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบของฝุ่นละอองขนาดเล็กและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยมี ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และนายสง่า แต่เชื้อสาย ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ ร่วมมอบ ณ สถานีวิทยุ จส.100 อาคารตึกไทย คลองเตย