จราจร
ของหายได้คืน
POST & SHARE
จราจร
ของหาย
ได้คืน
POST &
SHARE
9101
Tweet
https://www.js100.com/en/site/post_share/view/84169
COPY
รฟม. เปิดเส้นทาง 16 สถานี "รถรางไฟฟ้าเชียงใหม่ สายสีแดง" แก้รถติด-มลพิษสูง
9101
Tweet
https://www.js100.com/en/site/post_share/view/84169
COPY
13 มีนาคม 2563, 16:20น.
Flash News
JS100 Report
ประชาสัมพันธ์
โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของเมืองหลักในภูมิภาค โดยมีทั้งหมด 3 เส้นทาง เส้นทางแรกที่จะเริ่มดำเนินการ คือ
"สายสีแดง"
ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี มีรูปแบบเป็นระบบรถรางไฟฟ้า (LRT/Tram) ทางวิ่งผสมระดับดินและใต้ดิน มีแนวเส้นทางตามแนวเหนือใต้ ระยะทางรวมประมาณ 16 กม. จำนวน 16 สถานี แบ่งเป็นสถานี ระดับพื้นดิน 9 สถานี และสถานีใต้ดิน 7 สถานี ได้แก่
สถานีโรงพยาบาลนครพิงค์
สถานีศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
สถานีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
สถานีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ
สถานีแยกหนองฮ่อ
สถานีโพธาราม
สถานีข่วงสิงห์
สถานีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สถานีขนส่งช้างเผือก
สถานีมณีนพรัตน์
สถานีประตูสวนดอก
สถานีแยกหายยา
สถานีแยกท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
สถานีท่าอากาศยานเชียงใหม่
สถานีบ้านใหม่สามัคคี
สถานีแม่เหียะสมานสามัคคี
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. เปิดเผยว่า สาเหตุที่บางสถานีต้องวิ่งใต้ดินเนื่องจาก จ.เชียงใหม่ มีอายุมากถึง 700 ปี มีโบราณสถานจำนวนมาก รฟม. ได้รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่ต้องการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับความเจริญโดยเฉพาะเขตเมืองเก่า แม้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นมาก ซึ่งขั้นตอนการขุดเจาะจะมีผู้แทนจากกรมศิลปากรร่วมทำงานด้วย ปัจจุบันการดำเนินงานอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดต่างๆ คาดว่าจะนำเสนอตามกรอบวงเงินลงทุนประมาณ 27,000 ล้านบาท ขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีประมาณกลางปี 2564 และเริ่มก่อสร้างภายในปี 2565 และคาดว่าเปิดให้บริการได้ในปี 2570 จะสามารถอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง แก้ปัญหาการจราจร ลดปัญหามลพิษ และรองรับการเป็นเมืองเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
สำหรับรถรางไฟฟ้า มีจำนวน 3-4 ตู้ ความยาวรวม 32 เมตร มีวงเลี้ยวแคบสามารถลัดเลาะเข้าชุมชนได้ แต่ละสถานีมีระยะห่าง 600 - 1,500 เมตร ใช้พื้นที่น้อย วิ่งรวมกับรถทั่วไปได้ สำหร้บการเดินขบวนรถจะวิ่งสวนกัน มีอุปกรณ์แตะสายไฟด้านบน สูงประมาณ 5 เมตร ตลอดเส้นทาง ระยะห่างต่อขบวนสูงสุดไม่เกิน 15 นาที หากชั่วโมงเร่งด่วนจะยิ่งมีความถี่มาก ความเร็วสูงสุดใต้ดินอยู่ที่ 70 กม./ชม. ส่วนทางวิ่งบนดินจะช้ากว่า เพราะช่วงสถานีแม่เหียะสมานสามัคคีจะใช้ช่องทางวิ่งร่วมกับรถยนต์ แต่ระยะเวลาตลอดเส้นทางจะไม่เกิน 36 นาที สำหรับความจุผู้โดยสารสูงสุดประมาณ 200 คนต่อขบวน ในระยะแรกคาดว่าจะมีผู้โดยสารวันละประมาณ 16,000 คน และในอนาคตน่าจะมีมากถึง 40,000 คน อัตราค่าโดยสาร 14 - 30 บาท เพื่อให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจของ จ.เชียงใหม่
สำหรับ โครงการถรางไฟฟ้าใน จ.เชียงใหม่ นอกจากสายสีแดง ยังมี "สายสีน้ำเงิน" สวนสัตว์เชียงใหม่ - แยกศรีบัวเงินพัฒนา และ"สายสีเขียว" แยกรวมโชคมีชัย - ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ส่วนในระดับภูมิภาค รฟม. ยังได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในจังหวัดอื่น อาทิ จ.ภูเก็ต เส้นทางท่าอากาศยาน - ห้าแยกฉลอง , จ.นครราชสีมา ตลาดเชฟวัน - สถานคุ้มครองฯบ้านนารีสวัสดิ์ , จ.พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร - เซ็นทรัลพิษณุโลก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
MEA ลงพื้นที่ตรวจสอบความมั่นคงระบบไฟฟ้าสถานีสูบน้ำอุโมงค์บางซื่อ เตรียมพร้อมรับมือระบบไฟฟ้าหน้าฝน
19 พฤษภาคม 2568, 16:19น.
...
PTT Art Awards 2025 เชิญส่งผลงานเข้าประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 40 ในหัวข้อ "เติบโต สมดุล ยั่งยืน"
19 พฤษภาคม 2568, 16:02น.
...
รฟม. แจ้งปิดเบี่ยงจราจรเพิ่มเติมบนถนนจตุรทิศ บริเวณก่อนขึ้นสะพานข้ามแยกมักกะสัน ถึงบริเวณแยกมักกะสัน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 เวลา 23.00 น. – 04.00 น. (เฉพาะช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น)
19 พฤษภาคม 2568, 11:22น.
...
ข่าวทั้งหมด
X