สภากาชาดไทย ออกมาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 ทางโลหิต ฉบับที่ 1

30 มกราคม 2563, 19:08น.


          ตามที่มีรายงานการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและมีรายงานพบผู้ปวยยืนยันติตเชื้อจากต่างประเทศนอนพักรักษาอาการที่โรงพยาบาลในประเทศไทย อีกทั้งมีการยืนยันแล้วว่าเชื้อสามารถติตต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ได้ ดังนั้นเพื่อให้งานบริการโลหิตของประเทศไทย เป็นไปอย่างเพียงพอปลอดภัย และป้องกันมิให้รับบริจาคโลหิตจากผู้มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย จึงกำหนดให้มีมาตรการเกี่ยวกับการรับบริจาคโลหิศดังต่อไปนี้




          1 มาตรการงดรับบริจาคโลหิตชั่วคราวจากผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

     1.1 ผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 งดบริจาคโลหิต 14 วัน นับตั้งแต่วันที่เดินทางออกมาและไม่มีอาการผิดปกติใดๆ (แนะนำให้งดบริจาคโลหิต 14 วัน เพื่อเว้นระยะความปลอดภัย 1 เท่าของระยะเวลาฟักตัวของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นในร่างกายที่มีรายงานแล้ว 2-10 วัน ขณะที่ยังไม่มีรายงานระยะฟักตัวของเชื้อใหม่ตัวนี้)

     1.2 ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ให้งดบริจาคโลหิตเป็นเวลา 28 วัน หรือ 4 สัปดาห์ นับตั้งแต่ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และ/หรือหายป่วย โดยไม่มีอาการใด ๆ หลงเหลืออยู่ (แนะนำให้งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์ เพื่อเว้นระยะความปลอดภัย 1 เท่าของระยะเวลาการพบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นในโลหิต 2-16 วัน)

     1.3 ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ปวยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 งดบริจาคโลหิตเป็นเวลา 28 วัน หรือ 4 สัปดาห์

          2 มาตรการเรื่องการให้ข้อมูลการเจ็บป่วยหลังบริจาคโลหิตละการเรียกคืนโลหิตและส่วนประกอบโลหิต

     2.1 ภายใน 14 วันหลังบริจาคโลหิต หากผู้บริจาคโลหิตได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ให้ผู้บริจาคโลหิต ญาติ หรือโรงพยาบาลที่ทำการรักษาแจ้งให้หน่วยงานที่ให้บริการโลหิต ได้แก่ ศูนย์บริการโลหิต-แห่งชาติ ภาคบริการโลหิตแห่งขาติ หรือโรงพยาบาลที่รับบริจาคโลหิตทราบทันที

     2.2 หน่วยงานที่ให้บริการโลหิต ต้องมีแนวทางปฏิบัติในการรับข้อมูลข่าวสารจากผู้บริจาคโลหิต แล้วดำเนินการกักกัน หรือเรียกคืนโลหิตและส่วนประกอบโลหิตจากผู้บริจาคโลหิตครั้งนั้น ๆ ที่ยังอยู่ในคลังและยังไม่ได้ให้ผู้ป่วยกลับคืนเพื่อการตรวจรินิจฉัยและทำลาย

     2.3 โรงพยาบาลต้องมีระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิตที่ให้แก่ผู้ป่วย (hemovigilance system) และติดตามผู้ป่วยที่ได้รับโลหิตจากผู้บจาคโลหิตที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ไหม่ 2019






 
X