!-- AdAsia Headcode -->
คนเดินเท้ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ซึ่งการเดินเท้าในประเทศไทยยังไม่มีความปลอดภัยมากพอ เนื่องจากทางเดินไม่เรียบ มีสิ่งกีดขวาง และเสี่ยงที่จะถูกรถชนทุกทิศทุกทางอีกด้วย ถนนในชุมชนจะมีพื้นที่กว้าง ทำให้ขับผู้ใช้รถใช้ถนนขับเร็วเกินกว่า 30 กม./ชม. เมื่อคนข้ามถนนถูกชนจึงทำให้เกิดอัตราการเสียชีวิตมากถึง ร้อยละ 80 ทำให้กลุ่มคนเดินเท้าเป็นกลุ่มผู้ใช้รถใช้ถนนเปราะบางพบข้อมูลการเสียชีวิตแล้ว 841 คน บาดเจ็บ 27,981คน กลุ่มผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น 15-19 ปี และกลุ่มผู้ใหญ่ช่วงอายุ 50-69 ปี ส่วนใหญ่ถูกรถจักรยานยนต์ชน รองลงมาคือรถยนต์และรถบรรทุก
ในการแก้ปัญหาเริ่มจากผู้ที่เดินเท้าต้องตระหนักถึงความปลอดภัย โดยต้องใช้สะพานลอย หากต้องข้ามถนนต้องทางม้าลาย และต้องปฏิบัติตามกฎจราจร รวมถึงต้องมีการอบรมให้ความรู้ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จังหวัด ผังเมือง ละปรับปรุงพัฒนาทางเท้าให้เหมาะสม
ผู้แทนกรมการขนส่งทางบกเปิดเผยว่าผู้เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2560 มีผู้เสียชีวิตบนถนน 52,690 คน โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2563 รัฐบาลประกาศให้เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัย โดยเน้นย้ำเสาหลัก 5 ด้าน 1. ด้านการจัดการความปลอดภัยทางถนน 2. ด้านถนนและการเดินทางปลอดภัย 3. ยานพาหนะปลอดภัย 4. ด้านผู้ใช้ถนนปลอดภัย และ 5. การตอบสนองหลังเกิดเหตุ พร้อมยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณะสุข และสุขภาพของประชาชน
ด้านผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) กล่าวถึงวัตถุประสงค์นำเสนอให้ระดับผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ได้ทราบถึงทิศทางนโยบายระดับประเทศและระดับสากลร่วมนำเสนอนโยบายสาธารณะด้านอุบัติเหตุทางถนน และก่อให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการ ของหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน แนวทางการทำงาน จากพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จไปพัฒนาปฏิบัติให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เกิดรูปธรรมในการทำงานอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 - 8 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทคบางนา กรุงเทพมหานครฯ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกันคือการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนตามกรอบการทำงาน
Cr.ข้อมูลจากFacebook : ศวปถ.