!-- AdAsia Headcode -->

ภารกิจบีบหัวใจ สภาปฏิรูปแห่งชาติ เวลาน้อยแต่”งานเยอะ”

15 ตุลาคม 2557, 15:10น.

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined offset: 50

Filename: post_share/detail.php

Line Number: 278


อีกไม่เกิน1สัปดาห์ การเปิดประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. ก็กำลังจะเริ่มขึ้น โดยภารกิจแรกของสมาชิกทั้ง250คน คือ การเลือกประธานและรองประธานสปช.เพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแลและประสานการทำงานของสปช. และแม้ว่าทั้ง250คน จะถูกคัดสรรมาอย่างดีมาจากทั่วสารทิศ แต่ส่วนใหญ่แล้วก็คุ้นหน้าคุ้นตากันดี นั่นทำให้มีสมาชิกบางคนที่ถูกจับตามองต้ังแต่ มีการโปรดเกล้าฯรายชื่อ ว่า เป็นว่าที่ประธานสปช.



ภารกิจที่สปช.จะต้องเริ่มทำ คือการเลือกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ปี2557 ระบุว่า สัดส่วน คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะมี 36 ที่นั่ง มาจาก สภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. เสนอ 20 ที่นั่ง , สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. , คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. , คณะรัฐมนตรี หรือ ค.ร.ม. เสนอหน่วยงานละ 5 ที่นั่ง  ส่วนประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นหัวหน้าทีมร่างรัฐธรรมนูญ คสช.จะเป็นผู้เสนอชื่อประธานเอง โดยการคัดเลือกบุคคลมาสุมหัวร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องแล้วเสร็จภายใน15วัน นับจากวันเปิดประชุมสปช.ครั้งแรก



ระหว่างนี้ สปช.ก็จะต้องจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ควบคู่กันไป เพื่อเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ภายใน60วัน นับจากวันเปิดประชุมสปช.ครั้งแรก



จากนั้นคณะกรรมาธิการยกร่างฯ มีเวลา 120 วัน นับจากวันที่ได้รับความเห็น หรือ ข้อเสนอจากสปช. ที่จะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นอกจากความเห็นที่สปช.จัดทำส่งมาให้แล้ว ยังมี ข้อเสนอของ คสช., ค.ร.ม., สนช. และปชช.ทั่วไปอีกด้วย ที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯจะต้องนำทั้งหมดกลั่นกรองรวมกัน จนเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่(ใสกิ๊ก)



แต่หากจัดทำไม่เสร็จ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็จะถือว่าสิ้นสุดสภาพโดยปริยาย และให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมาธิการยกร่างฯชุดใหม่ขึ้นทำหน้าที่แทนภายใน15วัน      เมื่อกระบวนจัดทำเสร็จสิ้นตามกำหนด จะส่งร่างรัฐธรรมนูญให้กับประธานสปช. คสช. และค.ร.ม. ในส่วนของประธานสปช.จะจัดให้มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อพิจารณาเสนอแนะร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ภายใน10 วัน นับจากวันที่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ และหากสมาชิกสปช.ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ก็สามารถมีเวลา30วันในการดำเนินการ ส่วน คสช.และค.ร.ม. จะมีเวลา30วันนับจากร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น ในการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ



จากนั้น คณะกรรมาธิการยกร่างฯจะมีเวลาไม่เกิน60วันในการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ฝ่ายต่างๆเสนอมา ซึ่งในขั้นตอนนี้ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ เมื่อเสร็จสิ้นร่างรัฐธรรมนูญจะถูกส่งกลับมาที่สปช.อีกครั้ง โดยสมาชิกทั้งหมดจะต้องลงมติ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ15วันนับจากวันได้รับร่างรัฐธรรมนูญ



เมื่อมาถึงจุดนี้ หมายความว่า หากร่างรัฐธรรมนูญผ่านการเห็นชอบจากสมาชิกสปช. ประธานสปช.ก็จะนำร่างรัฐธรรมนูญทูลเกล้าฯภายใน30วัน นับจากวันที่สปช.เห็นชอบ



แต่หากร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ผ่านการเห็นชอบจากสมาชิกสปช. หรือ คณะกรรมาธิการยกร่างฯไม่เสร็จสิ้น หน้าที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ และ สปช.ทั้ง250คน ก็จะหมดลงไปโดยปริยาย ทุกอย่างจะกลับนับหนึ่งใหม่  เริ่มด้วยเลือกบุคคลที่จะมาทำหน้าที่สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อทำงานใหม่(อีกครั้ง)



By บุศรินทร์ วรสมิทธิ์  



Cr.Vichan Poti

X