สัตว์เยี่ยงข้าก็มีหัวใจนะออเจ้า!!

09 มีนาคม 2561, 22:12น.


        ข้าอยากให้ออเจ้าได้ดูคลิปนี้เหลือเกิน



        แล้วออเจ้าดูรูปข้างล่างนี้สิ ช่างแตกต่างจากในคลิปลิบโลกยิ่งนัก เหตุไฉนผองเพื่อนสัตว์ร่วมโลกของข้าถึงต้องตกอยู่ในสภาพเยี่ยงนี้หนอ หากผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐเอาอย่างสัตว์ในคลิปบ้าง โลกใบนี้ก็คงจะน่าอยู่ขึ้นมิใช่น้อยเลย







ออเจ้ารู้มั้ยว่าก่อนตายเพื่อนของข้าแต่ละตัวต้องทรมานเพียงใด บางตัวถึงกับหลั่งน้ำตาขอชีวิตเลยนะ



        ออเจ้าคงไม่รู้สินะว่า พระพุทธเจ้าเคยตรัสเกี่ยวกับเรื่องการทานเนื้อสัตว์และการฆ่าสัตว์เอาไว้ว่าอย่างไรบ้าง

        "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว อนึ่ง ภิกษุยังไม่ได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ หากภิกษุรูปใดฉันเนื้อนั้น ต้องอาบัติ (ต้องโทษผิด) ทุกกฏ

        (พระไตรปิฎก เล่ม 5 "เภสัชชขันธกะ" ข้อ 59 - 60)



        “การที่เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงไปนำสัตว์ชนิดโน้นมา’ นี้เป็นเหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมาก ประการที่ 1

        การที่สัตว์นั้นได้รับทุกข์โทมนัสขณะถูกผูกคอนำมา นี้เป็นเหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมาก ประการที่ 2

        การที่เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงไปฆ่าสัตว์ชนิดนี้’ นี้เป็นเหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมาก ประการที่ 3

        การที่สัตว์นั้นได้รับทุกข์โทมนัสขณะถูกฆ่า นี้เป็นเหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมาก ประการที่ 4

        การที่เขาทำให้ตถาคตหรือสาวกของตถาคตยินดีด้วยเนื้อที่ไม่สมควรนี้เป็นเหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมาก ประการที่ 5

เหตุให้ประสพสิ่งที่ไม่เป็นบุญเป็นอันมาก 5 ประการนี้แล ของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์เจาะจงถวายตถาคตหรือสาวกของตถาคต

        (พระไตรปิฎก เล่ม 13 "ชีวกสูตร" ข้อที่ 60)



        “ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลาย ฆ่าสัตว์เจาะจงถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าพูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ แต่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ที่ไม่มีอยู่

        เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

        1.  เนื้อที่ตนเห็น๑-


        2. เนื้อที่ตนได้ยิน

        3. เนื้อที่ตนสงสัย

        เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการนี้แล

        เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

        1.  เนื้อที่ตนไม่เห็น


        2. เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน

        3. เนื้อที่ตนไม่สงสัย

        เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการนี้แล



        เชิงอรรถ :

        ๑ เนื้อที่ตนเห็น หมายถึง เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาที่ภิกษุเห็นทายกฆ่า(นำมาปรุงอาหาร) ถวายหมู่ภิกษุ เนื้อที่ตนได้ยิน และเนื้อที่ตนสงสัยก็มีนัยเดียวกัน (ม.ม.อ. 2/52/35)

        (ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า : 49)



ภาพประกอบจาก paris-normandie

เรียบเรียงโดย อรพรรณ ลิมปิอังคนันต์



 



 



 



 

X