เรื่องน้ำหนักเยอะเป็นเรื่องใหญ่ หลาย ๆ คนหาทางลดน้ำหนักหลาย ๆ วิธี มีทั้งการกินแบบคีโตเจนิค หรือกินแบบคลีน หรือกินแต่ผัก
วันนี้ก็เลยเอาเรื่องของการกินอาหารแบบ Low-Fat ไขมันต่ำ ไขมันน้อย หรือกินแต่ไขมันดี เข้าข่ายกินคลีน กับการกินแบบ Low-Carb แป้งน้อย คาร์บน้อย หรือไม่มีแป้ง ว่ามันจะเป็นยังไง ดีมีผลต่อสุขภาพยังไง
คือว่ามีการถกเถียงกันมาช้านานแล้วว่าระหว่าง การกินแบบไขมันต่ำ หรือแป้งน้อย อย่างไหนดีต่อสุขภาพ บางคนก็เห็นด้วยกับแผนการจำกัดธัญพืช ผลไม้ และคาร์โบไฮเดรทอื่น ขณะที่อีกกลุ่มก็เห็นด้วยกับการลดเนื้อแดง ผลิตภัณฑ์นมและอาหารไขมันอื่นๆ
แล้วใครถูก? ทั้งคู่ไหม หรือว่าไม่มีใครถูก มาดูผลจากงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์โดย JAMA ดีกว่า
ผลจากการศึกษาคน 600 คนเป็นระยะเวลา 1 ปี จากการกินทั้ง 2 แบบ ทำให้ผู้กินมีน้ำหนักลดลงเกือบจะเท่า ๆ กัน ซึ่งคริสโตเฟอร์ การ์ดเนอร์ ผู้อำนวยการด้านการศึกษาด้านโภชนาการของ Stanford Prevention Research Center ซึ่งศึกษาเรื่องนี้ บอกว่ามันไม่คล้องจองอย่างเป็นเหตุเป็นผลเท่าใดนักว่าใครกินแบบไหนประสบความสำเร็จได้มากกว่ากันคือพบว่าคนที่กินทั้ง 2 แบบประสบความสำเร็จทั้งคู่ คือคุณกินแบบไหนก็ลดน้ำหนักได้
ไม่มีอันไหนได้ผลมากกว่ากัน ?
สำหรับกลุ่มคนในการวิจัยครั้งนี้ มีอายุระหว่าง18-50 ปี และทั้งหมดน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน แต่ว่าสุขภาพดี ทั้งหมดต้องเข้าเรียนเรื่องการโภชนาการ แต่ละคนถูกกำกับให้กินน้ำตาล แป้งที่ผ่านกระบวนการและไขมันทรานส์ให้น้อยที่สุด โดยให้กินผัก และอาหารที่มีสารอาหารมาก ๆ ให้หลากหลาย ไม่มีข้อจำกัดชัดเจนเรื่องแคลอรี่ แต่ทุกคนได้รับการสนับสนุนให้สร้างนิสัยดีต่อสุขภาพ เช่น ให้ทำอาหารที่บ้าน และรับประทานอาหารกับสมาชิกในครอบครัว
ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างถูกขอให้ลดการกินคาร์โบไฮเดรท ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งต้องลดไขมันลงครึ่งหนึ่งเช่นกัน
ผลการศึกษารายบุคคลที่ออกมาหลังจากผ่านไป 1 ปีออกมาหลากหลาย คนหนึ่งลดลงไป 60 ปอนด์ แต่อีกคนเพิ่มมา 20 ปอนด์ แต่ว่าเมื่อดูจำนวนน้ำหนักโดยเฉลี่ยทั้ง 2 กลุ่มออกมาว่า กลุ่มLow-Fat ไขมันต่ำลดลง 11 ปอนด์ เทียบกับ กลุ่ม Low-Carb แป้งน้อยลดลง 13 ปอนด์
ยังมีอื่นอีก เมื่อนักวิจัยตั้งสมมติฐานว่า พันธุกรรมและการเผาผลาญบางอย่างที่ระบุในการศึกษาที่ผ่านมา บ่งบอกได้ว่าคนไหนจะประสบความสำเร็จด้วยวิธีการกินแบบไหน
การ์ดเนอร์กลับบอกว่าผลไม่ได้เป็นอย่างนั้น
30% ของกลุ่มศึกษามีกลุ่มยีนในทางทฤษฎีบอกว่าจะทำสำเร็จได้ด้วยไขมันต่ำ ในขณะที่มี 40%ของกลุ่มศึกษามีโครงสร้างไปทางแป้งน้อย ทว่าข้อมูลไม่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะที่ว่ากับน้ำหนักที่ลดลงตามแผนที่กำหนด ไม่สัมพันธ์กับการวัดความต้านทานของอินซูลินด้วย ซึ่งทีมงานคิดว่ามันเกี่ยวพันถึงความสำเร็จ
คือว่ามันไม่ดีหรือ ถ้าเราจะมีการทดสอบเรื่องยีนแบบสุดเจ๋ง และจะเห็นว่าคุณเป็นแบบไหน
ดร.การ์ดเนอร์บอกว่ามันล้มเหลว เพราะอยากระบุเป็นรายบุคคลได้ แต่ก็ระบุไม่ได้
ดร.การ์ดเนอร์ยังบอกอีกว่ามันมีผลงานวิจัยที่สำคัญออกมา ซึ่งมันอาจจะเป็นข่าวที่ทำให้คนลดน้ำหนักวุ่นวายใจ บรรดาคนลดน้ำหนักที่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะมาจากลุ่มไหนต่างได้รับเครดิตความสำเร็จกับกรอบความสัมพันธ์กับอาหาร พวกเขาเริ่มด้วยการกินอย่างเอาใจใส่ ทำอาหารที่บ้านบ่อยขึ้น และเพ่งไปที่อาหารทั้งหมดที่กิน
สรุปแล้วกลายเป็นเรื่องการเอาใจใส่กับสิ่งที่กินมากขึ้น เป็นสิ่งสำคัญกว่าระหว่างกลุ่มแป้งน้อยหรือไขมันต่ำ จึงง่ายสำหรับทุกคน เพราะมันไม่ได้เป็นเรื่องความยุ่งยากเกี่ยวกับตัวอาหาร แต่มันเป็นเรื่องการเปลี่ยนวิธีการกินอาหารมากกว่า
( ภาพจาก : HonestDocs ,freepik ,Purple Tree Organics )