Severity: Notice
Message: Undefined offset: 69
Filename: post_share/detail.php
Line Number: 271
ทาวเวอร์เครน เป็นเครื่องจักรกลที่สำคัญ และเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำเนินงานก่อสร้างอาคาร และตึกสูง ของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง โดยในกรุงเทพฯ เราจะเห็นการก่อสร้าง และการทำงานของเครนอยู่ในหลายพื้นที่ บางคนอาจจะสงสัยว่าเขานำเครื่องจักรขนาดใหญ่แบบนั้นขึ้นไปได้อย่างไร หรือสูงขนาดนั้นเขาไม่กลัวบ้างหรือ แล้วมันจะปลอดภับใช่มั้ย ซึ่งการทำงานบนที่สูงได้มีการระบุกฎระเบียบเพื่อความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงไว้ ดังนี้
1. พื้นที่สูงที่มีช่องเปิดต่างๆ รวมทั้งราวบันได ต้องทำราวกันตกที่มั่นคงแข็งแรง
2. พื้นรองรับขาตั้งและข้อต่อต่างๆ ของนั่งร้านจะต้องอยู่ในสภาพดีและมั่นคงและไม่สั่นคลอนในขณะทำงาน
3. พื้นไม้หรือเหล็กจะต้องยึดวางอย่างมั่นคงกับโครงสร้างของนั่งร้าน
4. โครงสร้างของนั่งร้านที่เป็นเสาค้ำยันจะต้องให้ได้ฉากกับแนวระดับ ชิ้นส่วนของนั่งร้านที่เสียหายห้ามนำมาใช้งานเด็ดขาด
5. ตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชนิดที่เกี่ยวกับข้องกับการใช้งาน เช่น รถเครน, ลวดสลิง, เชือก, ตะขอ, สะเก็น ว่าอยู่ในสภาพดีทุกครั้งก่อนเริ่มทำงาน หากชำรุดห้ามนำมาใช้
6. ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงเกิน 4 เมตร ในที่โดดเดี่ยวเปิดโล่งต้องสวมเข็มขัดนิรภัยและคล้องเมื่ออยู่ในสภาพที่คล้องได้
7. ขณะที่มีพายุหรือฝนตก ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงต้องหยุดทำงานและลงมาข้างล่าง
8. ในกรณีที่พื้นนั่งร้านลื่นชำรุดหรือเป็นช่อง ต้องทำการแก้ไขโดยทันทีและห้ามใช้ไม้ที่ชำรุดผุกร่อนมาทำพื้นนั่งเรียบ นั่งร้านที่สูงกว่า 2 เมตร ต้องมีราวกันตก สูง 90 ซม. แต่ไม่เกิน 1.10 เมตร
และจากภาพที่ JS100 นำมาเสนอเป็นลักษณะของการทำงานของเครนที่กำลังยกของ และยื่นออกมาที่ถนน เห็นแบบนี้ ผู้ใช้เส้นทางบางคนอาจจะรู้สึกกลัว และกังวลว่าของที่ถ่วงอยู่บนเครนจะล่วงลงมาได้ หากเจอเหตุการณ์แบบนี้แนะนำว่าให้ขับออกจากบริเวณนั้นให้เร็วที่สุด ซึ่งบริษัทรับเหมาก่อสร้างต่างๆ ก็ควรที่จะปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด และไม่ควรประมาท เพราะหากมีเหตุการณ์ที่คาดคิด เช่น เครนล้ม หรือมีสิ่งของล่วงหลุดจากเครน อาจจะทำให้ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินได้ ซึ่งที่ผ่านมาเราเองก็คงจะเคยเห็นจากข่าวต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง
ภาพจาก : @Teddybboy