จากกรณีนายวัฒนชัย ชุดเคลื่อนที่เร็ว มอเตอร์แลนส์ 1669 จ.อุบลราชธานี กองส่งเสริมสุขภาพชีวิต อบจ.อุบลราชธานี โพสต์เฟซบุ๊ก Wattanachai Khunpok เข้าปฏิบัติการตามที่ได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน ขับรถตกน้ำ ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นเรื่องโกหกที่แต่งขึ้นเพื่อเรียกร้องความสนใจจากแฟน
.JPG)
นายวัฒนชัย เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้ามืด(27ส.ค.60) เวลาประมาณ 03:50 น. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 ประจำจังหวัดอุบลราชธานี รับแจ้งขอความช่วยเหลือจากประชาชนคนหนึ่ง อ้างว่าตนเองเมาและขับรถตกน้ำ แต่ไม่สามารถบอกจุดเกิดเหตุได้ว่าอยู่ที่ใด พร้อมแจ้งว่าน้ำกำลังท่วมเข้ามาในรถ นายวัฒนชัยและทีมกู้ชีพกว่า 10 คน พร้อมรถอีก 4 คัน จึงรีบเดินทางไปบริเวณหาดคูเดื่อ ต.แจระแม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ซึ่งคาดว่าเป็นจุดใกล้เคียงตามที่ผู้แจ้งให้ข้อมูลมากที่สุด ระหว่างลงพื้นที่ค้นหาก็ยังโทรศัพท์สอบถามเป็นระยะ และได้ประสายงานไปที่ส่วนราชการจังหวัด กรมเจ้าท่า เพื่อขอเรือร่วมค้นหา แต่เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 ชม. ยังไร้วี่แวว จึงซักถามกับญาติและภรรยาจนเชื่อได้ว่า ผู้แจ้งให้ข้อมูลไม่เป็นความจริง และก่อนหน้านี้ได้ทะเลาะกับภรรยาเกี่ยวการขายปลาทู จึงคาดว่าจะทำไปเพื่อเรียกร้องความสนใจ ประกอบกับโทรศัพทติดต่อกับไปอีกครั้งช่วง 7 นาฬิกา และ 10 นาฬิกา ก็ไม่รับสายอีกเลย แต่ทักแอปพลิเคชั่นไลน์ไปยังเปิดอ่าน แต่ไม่ตอบอะไร
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) เปิดเผยว่า ตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน มาตรา 38 เรื่องการสื่อสาร แจ้งข้อมูลเท็จ มีโทษปรับทางปกครองสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท และถ้าอาจทำให้เกิดความเสียหายต้องนำไปสู่การสอบสวนเพื่อพิจารณาโทษอื่นๆ ส่วนในกรณีนี้ผู้เสียหายจากการกระทำดังกล่าวสามารถไปแจ้งความเอาผิดได้ ทั้งนี้สำหรับการแจ้งเหตุเท็จมีสัดส่วนประมาณ 30-50% ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นการตักเตือน แต่หากกระทำความผิดซ้ำจึงจะแจ้งตำรวจดำเนินคดี
.JPG)
"ผมเชื่อว่า ผมและชุดกู้ชีพทึกคนพร้อมปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดกำลัง ไม่ว่าจะสิ้นหวังแค่ไหนก็จะช่วยเหลือให้ถึงที่สุด แต่วอนประชาชนอย่าแจ้งเหตุเท็จ เพราะอาจเป็นการเสียโอกาสในการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจริง" นายวัฒนชัย กล่าว