!-- AdAsia Headcode -->

"ฟ้าผ่า!!" ระวังตัวอย่างไร !?

29 พฤษภาคม 2560, 15:49น.


  นายดุสิต สุขสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ให้ความรู้เรื่องฟ้าผ่าไว้ว่า "ฟ้าผ่า" ไปไฟฟ้าแรงสูงกว่า 1,000 โวลต์ เกิดจากการที่ก้อนเมฆเคลื่อนตัวบนท้องฟ้าระหว่างประจุบวกกับลบ ซึ่งเป็นการแบ่งตัวแลกเปลี่ยนประจุกัน หากสภาพอากาศแห้งจะยิ่งมีโอกาสเกิดฟ้าผ่าได้ง่าย



 โอกาสเกิดฟ้าผ่าโดยตรงกับมนุษย์เป็นไปได้มไปน้อยขนาดไหน?


โอกาสเกิดน้อยมาก เพราะฟ้าผ่าสามารถเกิดได้ทุกทิศทาง และทิศทางก็ไม่มีความแน่นอน ดังนั้นเราต้องไม่สร้างโอกาสหรือเพิ่มความเสี่ยงให้กับตนเอง เช่น ไม่ยืนที่โล่งแจ้ง ไม่ยืนกลางทุ่งนา หรือยืนอยู่ในจุดที่โดดเด่นกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพราะฟ้ามักจะผ่าของที่อยู่สูงกว่าเสมอ นอกจากนี้ยังต้องระวังการหยิบ จับ หรือถือสิ่งของที่เป็นวัสดุล่อฟ้า เช่น สิ่งของที่มีลักษณะปลายแหลม ส่วนปลายของร่ม เขากวาง เขาวัว ฯลฯ    

  หากถูกฟ้าผ่าจะเสียชีวิตหรือไม่?


หัวใจของคนเราทำงานด้วยประจุไฟฟ้า หากถูกฟ้าผ่ายังมีโอกาสปั๊มหัวใจ(CPR) ฟื้นกลับขึ้นมาได้ แต่ต้องปั๊มหัวใจไปเรื่อยๆห้ามหยุด เพื่อให้หัวใจและสมองทำงานอยู่ตลอดเวลา ลดโอกาสการเสียชีวิต แต่ต้องรีบถึงมือแพทย์โดยเร็วที่สุด

  จะทราบได้หรือไม่ว่ากำลังเสี่ยงถูกฟ้าผ่า?


สังเกตง่ายๆ ขนแขนจะตั้งขึ้นหากอากาศแห้ง ซึ่งจะสัมพันธ์กับตำแหน่งที่อยู่ของเราขณะนั้นอาจกำลังสะสมประจุไฟฟ้าอยู่ หากเราคลายประจุลงด้านล่างได้ โอกาสก็จะเกิดขึ้นน้อยลง เช่น การนั่งยองๆ สามารถลดความเสี่ยงได้ เพราะฟ้าอาจจะไปผ่าจุดอื่นที่สูงกว่า ที่สำคัญห้ามยืนในที่เปียกแฉะ จะทำให้ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงสูง

  แม้ฟ้าผ่าโดยตรงกับมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่เน้นย้ำว่าเราต้องไม่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้ตนเอง โดยเฉพาะการเล่นสมาร์ทโฟนขณะฟ้าแรงเป็นสิ่งไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะมีการรับส่งคลื่นแม่เหล็กและสัญญาณ นอกจากนี้หากเราหลบฟ้าฝนก็ไม่ควรที่จะหลบใต้ต้นไม้หรือใต้เสาเช่นกัน เพราะต้นไม้อาจล่อฟ้า หรือกระทั่งลมพัดแรงจนต้นไม้หักโค่นได้ ดีที่สุดควรอยู่ในอาคารหรือบ้านเรือนของเราเป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุดครับ



  เรียบเรียงโดย : อภิสุข เวทยวิศิษฏ์
X