Severity: Notice
Message: Undefined offset: 69
Filename: post_share/detail.php
Line Number: 271
การปิดสะพานข้ามแยกรัชโยธิน ทำให้เกิดกระแสวิพากย์วิจารณ์กันมากเพราะส่งผลให้ผู้คนที่ใช้เส้นทางดังกล่าว ต้องวางแผนการเดินทางเผื่อเวลามากขึ้น เพราะเส้นทางบริเวณโดย ติดมากขึ้น และจราจรจะกลับมาคล่องตัวมากขึ้นใช้ช่วงสายๆ โดยหลังจากที่ได้มีการปิดสะพานเสมือนจริง 24 ชั่วโมงตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา ก็ทำให้ผู้คนที่ใช้เส้นทางดังกล่าว รวมถึงเส้นทางในบริเวณรอบๆ ก็เปลี่ยนวิธีการเดินทางกันไปยกใหญ่ ทั้งการเดินทางด้วย MRT หรือวินมอเตอร์ไซค์ รวมทั้งการลงเดินเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ทั้งนั้นหากผู้ใช้ถนนในเส้นทางดังกล่าวสามารถปรับเวลาในการเดินทางให้ออกเร็วขึ้นก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี ส่วนเส้นทางเลี่ยงให้ใช้เส้นทางหลัก 7 เส้นทาง คือ ถนนลาดพร้าว วิภาวดีรังสิต เกษตร – นวมินทร์ สุทธิสาร ลาดพร้าว – วังหิน ซอยโชคชัย 4 และทางพิเศษศรีรัช เส้นทางย่อย ใช้ซอยย่อยใกล้เคียง ประกอบด้วย ซอยรัชดาฯ 48, 46/1 เพื่อออกซอยพหลโยธิน 35 หรือเข้าซอยรัชดาฯ 46 ออกซอยพหลโยธิน 33 ซอยพหลโยธิน 30 เพื่อออกซอยรัชดาฯ 36 ซอยวิภาวดีรังสิต 30 ออกซอยพหลโยธิน 21 หรือเข้าซอยวิภาวดี 32 ออกซอยพหลโยธิน 23 ได้อีกด้วย
และล่าสุดหลังจากที่ทาง เพจ JS100 radio ได้ทำการโพสข่าวการรื้อสะพานรัชโยธินหลังเที่ยงคืน ในวันที่ 7 ธ.ค. 59 เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ก็ทำให้เกิดกระแสขึ้นอย่างมากไปดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าชาวแฟนเพจ JS100 radio มีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้
จะรื้อก็รีบรื้อ อย่ารอให้มันนานเกิน?
รื้อปุ๊บ ติดหนักมากปั๊บ !
ใช้รถจักรยานยนต์ช่วยได้จริงๆนะ
หลังจากได้มีการปิดสะพานรัชโยธินถาวรในวันที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมาก็จะเริ่มการรื้อสะพานข้ามแยกรัชโยธิน โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะนำเครื่องมือหนักมาลงที่จุดก่อสร้าง และจะใช้เวลาในการรื้อสะพานประมาณ 2 เดือนโดยกำชับให้แล้วเสร็จใน ม.ค. 60 และดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ตามโครงการเป็นเวลา 2 ปี โดยจะแล้วเสร็จในเดือน ก.พ. 62 และก่อสร้างสะพานรัชโยธินใหม่ในแนวถนนพหลโยธิน 1 ปี คาดก่อสร้างเสร็จ ก.พ. 61 นอกจากนี้ ในถนนพหลโยธินยังมีสะพานอีก 2 สะพาน คือ สะพานข้ามแยกเกษตรที่ได้รื้อไปก่อนหน้านี้ ก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 60 และสะพานข้ามแยกเสนาที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ขอให้เพิ่มมาอีก 1 สะพานนั้น คาดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 61 ซึ่งหากก่อสร้างสะพานและตัวอุโมงค์แล้วเสร็จนั้นจะเพิ่มประสิทธิภาพจราจรบริเวณแยกรัชโยธินได้อย่างมาก
ทั้งนี้หลายฝ่ายคาดหวังว่า หากมีการบริหารจัดการที่ดี ก็น่าจะสามารถลดระยะเวลาการก่อสร้างให้น้อยกว่าที่กำหนดไว้ได้ นอกจากนี้ยังให้ผู้ดูแลการก่อสร้างมีวินัย ไม่วางวัสดุหรือเครื่องมือต่างๆ เกินกรอบที่วางไว้ ไม่รุกล้ำพื้นผิวจราจรและจะให้มีการติดป้ายขนาดใหญ่ในจุดก่อสร้าง เพื่อเป็นการแจ้งต่อผู้ใช้รถใช้ถนน โดยขอความกรุณาผู้ใช้รถใช้ถนนเสียสละ เพื่อที่จะได้มีระบบการขนส่งที่ดีขึ้น และแก้ปัญหาจราจรที่ติดขัดได้
(หากต้องการสอบถามข้อมูลเส้นทางการจราจรเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 1137 หรือ *1808)
เนื้อหา : ภคมน แสงวิสุทธิ์สิงห์