ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ แค่ “หูตึง” ก็เสี่ยง...สมองเสื่อม!
ผู้ป่วยสมองเสื่อมอาจไม่มีอาการหูตึงกันทุกคน แต่ผู้สูงอายุที่หูตึง มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า!
“หูตึง” ทำให้ “สมองเสื่อม” ได้อย่างไร?
เมื่ออายุเพิ่มขึ้นจนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ มีหลายโรคที่คนในวัยนี้ต้องเผชิญ เช่นภาวะ “หูตึง” ซึ่งถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงกลับส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย
> ผู้ป่วยไม่มั่นใจที่จะสื่อสารกับคนอื่น เพราะกลัวว่าจะไม่ได้ยินสิ่งที่คู่สนทนาพูดด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการสื่อสาร จึงมักปลีกตัวอยู่คนเดียว จนเกิดภาวะซึมเศร้า สาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อม
> การทำงานของสมองน้อยลง เนื่องจากกลไกการทำงานของหูและสมองมีส่วนที่เชื่อมโยงกัน โดย “หู” ทำหน้าที่รับเสียงที่ผ่านเข้ามาทางประสาทหู จากนั้นจะส่งสัญญาณเสียงที่ได้ยินไปสู่ “สมอง” เพื่อแปลความหมาย หากหูตึงก็จะไม่มีเสียงส่งไปที่สมอง สมองจะไม่ถูกใช้งาน นานวันเข้าจะทำให้สมองฝ่อ และเสื่อมลงเรื่อยๆ
เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาจากภาวะ “หูตึง” องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และเด็กก่อนวัยเรียน ควรรับการตรวจคัดกรองการได้ยิน หากพบความผิดปกติให้เข้ารับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ และสมองพัฒนาการช้าในเด็กเล็ก
กรณีของผู้สูงอายุที่มีอาการหูตึงในระดับที่ไม่สามารถรักษาได้ การใส่เครื่องช่วยฟังจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมได้....
หากพบเห็นผู้พลัดหลง ที่มีสัญลักษณ์ดอก Forget Me Not คุณช่วยเขาได้ เพียงสแกน QR Code ติดต่อมาที่ จส.100...ปฏิบัติการรวมพลังน้ำใจ ช่วยพาผู้ป่วยสมองเสื่อมกลับบ้าน
--------------------------------------
ร่วมสานต่อโครงการ “คนไทยใส่ใจผู้ป่วยสมองเสื่อม” โดย....
>> สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย
>> รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
>> คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
>> ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม รพ.จุฬาฯ
>> จส.100
>> ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศรส.พม.)
>> ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
>> สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
>> การประปานครหลวง
>> ธนาคารออมสิน
>> บริษัท เฌอร่า จํากัด (มหาชน)
>> บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน)
>> แพลน บี
>> เซเว่น อีเลฟเว่น
#js100 #จส100 #forgetmenot #คนไทยใส่ใจผู้ป่วยสมองเสื่อม