เมื่อยาไม่ใช่คำตอบเดียว...ควรดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมอย่างไรไม่ให้แย่ลง

17 มกราคม 2567, 11:00น.


แม้ว่าโรคสมองเสื่อมจะรักษาไม่หายขาด การดูแลผู้ป่วยจึงเป็นเพียงการประคับประคองตามอาการอย่างต่อเนื่อง ยาอาจเป็นเพียงสิ่งช่วยบรรเทาความเจ็บปวด สิ่งที่สำคัญที่คือ ความรักและความใส่ใจ นี่คือพลังใจที่ยิ่งใหญ่ในการรักษา ไม่ว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคอะไรก็ตาม ขอแค่มีคนอยู่ข้างๆเขาก็อุ่นใ



วางแผนการดูแลผู้ป่วย

วางแผนการดูแลที่ครอบคลุม ทั้งด้านการเงิน ที่อยู่อาศัย สิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย พร้อมทั้งวางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ

มอบความรักและความเข้าใจ

แสดงความรัก ความห่วงใย ด้วยการจับมือ การกอด และการพูดคุย ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย น้ำเสียงนุ่มนวล ต้องมีความใจเย็น อย่ากดดันตัวเอง

เรียนรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

หาความรู้พร้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคให้มากขึ้นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่เราจะสามารถดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

หากิจกรรมเล็กๆทำระหว่างวัน

สร้างกิจกรรมเล็กๆให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลาย รู้สึกสนุก เช่น การเดินออกกำลังกาย การฟังเพลง วาดรูป เต้นรำหรือการเล่าเรื่องราวต่างๆในอดีต เพื่อกระตุ้นความทรงจำของผู้ป่วย

เราเครียด = ผู้ป่วยเครียด อย่าฝืนควรหยุดพัก

หากผู้ดูแลรู้สึกเครียด ควรหยุดพักเพื่อผ่อนคลาย ให้เวลากับตัวเองได้พักผ่อน อย่าแบกรับภาระหนักไว้คนเดียว ไหว้วานให้ผู้อื่นมาดูแลผู้ป่วยเป็นการชั่วคราว



หากพบเห็นผู้พลัดหลง ที่มีสัญลักษณ์ดอก  Forget Me Not คุณช่วยเขาได้ เพียงสแกน QR Code ติดต่อมาที่ จส.100...ปฏิบัติการรวมพลังน้ำใจ ช่วยพาผู้ป่วยสมองเสื่อมกลับบ้าน

--------------------------------------

สนับสนุนโดย..

-สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย

-รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

-คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

-ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม รพ.จุฬาฯ

-จส.100

-บริษัท เฌอร่า จํากัด (มหาชน)

-บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

-บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

-บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในนาม ทรู-ดีแทค

-บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)

-น้ำดื่มสิงห์

-บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน)

-กลุ่มบริษัทอำพลฟูดส์

-MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง

-เซเว่น อีเลฟเว่น 



X