การจัดกิจกรรมช่วยกระตุ้นความจำให้กับผู้ป่วยสมองเสื่อมเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก เพราะยาไม่ใช่แค่คำตอบเดียวที่จะรักษาโรคให้หายขาด การสร้างกิจกรรมเล็กๆที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสนุก ผ่อนคลาย เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยฟื้นฟู ส่งเสริมและชะลอความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อม
กิจกรรมกระตุ้นสมอง ที่คุณก็สามารถทำได้ง่ายๆที่บ้าน
ร้องเพลงเพลิน เดินระบำ ฟังเสียงดนตรี
เปิดเพลงที่ผู้ป่วยชอบฟังหรือคุ้นเคย ให้เขาได้นึกถึงวันวาน ร้องเพลงคลอตามพร้อมชวนเขาลุกขึ้นมาเต้นรำขยับร่างกาย เสริมสร้างความทรงจำ ช่วยลดความวิตกกังวล
ภาพถ่ายแห่งความทรงจำ ทายซินี่ใครเอ่ย?
ค้นหาภาพถ่ายเก่าๆให้ผู้ป่วยได้นึกถึง ลองทายชื่อ บอกเล่าเรื่องราวในวันวาน การที่เราได้นึกถึงเรื่องราวเก่าๆถือว่าเป็นการช่วยกระตุ้นความทรงจำได้เป็นอย่างดี
ตอนนี้? กลางคืนหรือกลางวัน จงบอกเวลาผ่านเข็มนาฬิกา
ทุกๆกิจวัตรประจำวันให้สอบถามผู้ป่วยเสมอว่าตอนนี้เวลากี่โมง เวลาถัดไปจะต้องทำอะไร กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ฝึกการจดจำ คิด และคำนวณเวลาง่ายๆ
กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ ออกวันละนิด พิชิตสมองเสื่อม
ออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินแกว่งแขน วิ่งเหยาะๆ ส่งรับลูกบอล เพื่อให้ร่างกายได้ขยับ กระตุ้นสารโดปามีน (สารแห่งความสุข) ลดอาการซึมเศร้า วิตกกังวล ร่างกายผ่อนคลาย
หากพบเห็นผู้พลัดหลง ที่มีสัญลักษณ์ดอก Forget Me Not คุณช่วยเขาได้ เพียงสแกน QR Code ติดต่อมาที่ จส.100...ปฏิบัติการรวมพลังน้ำใจ ช่วยพาผู้ป่วยสมองเสื่อมกลับบ้าน
--------------------------------------
สนับสนุนโดย..
-สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย
-รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
-คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
-ศูนย์ดูแลภาวะสมองเสื่อม รพ.จุฬาฯ
-จส.100
-บริษัท เฌอร่า จํากัด (มหาชน)
-บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
-บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
-บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในนาม ทรู-ดีแทค
-บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)
-น้ำดื่มสิงห์
-บริษัท ซัสโก้ จำกัด (มหาชน)
-กลุ่มบริษัทอำพลฟูดส์
-MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง
-เซเว่น อีเลฟเว่น