มั่นใจว่าคนที่ติดตามจส.100ไม่ว่าจะฟังทางวิทยุหรือติดตามทางทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค ต้องลุ้นระทึกกับเหตุการณ์พนักงานของบริษัทไฟแนนซ์กระโดดเกาะกระโปรงหลังของรถยนต์ซึ่งมีคนขับเป็นผู้หญิงขับหลบหนีทั้งที่ยังมีพนักงานของบริษัทไฟแนนซ์เกาะอยู่ที่กระโปรงหลังของรถและไปชนกับรถยนต์คันอื่นอีกหลายคันโดยทางผู้หญิงคนขับอ้างว่าขับหลบหนีเพราะความตกใจกลัว! หลายคนตั้งคำถามถึงสิทธิของทางบริษัทไฟแนนซ์ในการยึดรถที่ติดค้างค่างวดกับทางบริษัทไฟแนนซ์???? ถ้าตอบโดยใช้สามัญสำนึกแบบวิญญูชนทั่วๆไปพึงคิดได้และปฎิบัติ ชัดเจนอยู่แล้วค่ะว่า มีหนี้ต้องชำระค่ะ (ในเนื้อหาของเพลงบางเพลงถึงบอกว่าถ้าหากจะมีหนี้ ควรเป็น หนี้รักนะคะ เพราะดอกเบี้ยที่เกิดมันสวยงาม อุ๊บบบส์) แต่คำตอบในแง่ของกฎหมายนั้น คุณสุชาติ ชมกุล กรรมการบริหารสภาทนายความภาค 1และรองเลขาธิการสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ อธิบายในประเด็นนี้ผ่านทางจส.100 ในช่วงคุณวีณา เสรีอรุโณ เป็นผู้ดำเนินรายการ ช่วงประมาณ 8โมงกว่า(5พค2558) ว่า เมื่อผู้เช่าซื้อรถยนต์ผิดสัญญาค้างชำระค่าเช่าซื้อ(ค่างวด)รถ โดยค้างตั้งแต่2เดือนขึ้นไปทางผู้ให้เช่าซื้อ(บริษัทไฟแนนซ์หรือธนาคาร)ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์(การเช่าซื้อกรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ จนกว่าผู้เช่าซื้อจะผ่อนชำระค่าเช่าซื้อจนครบถ้วน)ในรถยนต์มีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ทันที (ในสัญญาระบุไว้ชัดเจนนะคะ แต่ประเด็นที่ต้องถามต่อว่าผู้เช่าซื้อเคยสนใจ ใส่ใจ ในการอ่านสัญญานั้นหรือไม่?)โดยการทำหนังสือบอกเลิกสัญญาส่งทางไปรษณีย์ตอบรับส่งให้ผู้ที่ถูกสัญญา(เมื่อมีการเซ็นต์รับจดหมายเท่ากับว่าทางผู้เช่าซื้อรับทราบการบอกเลิกสัญญา ซึ่งหมายถึงต้องคืนรถยนต์คันดังกล่าวให้กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงทันที!(แต่นั้นหมายถึงระยะเวลา30วันภายหลังจากที่ทางผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา) แต่อย่างไรก็ตามการติดตามขอยึดรถ(ขอรถคืน) ผู้ไปยึดต้องแสดงตัวให้ชัดเจน แต่งตัวสุภาพ จะไปล้อมรถหรือแสดงกริยาข่มขู่ไม่ได้ ต้องมีหนังสือ หลักฐานไปแสดงให้ชัดเจน และหากไปแสดงตัวแล้วยึดรถไม่ได้ อีกฝ่ายไม่ยอมให้ยึดก็ต้องฟ้องศาลให้ทางศาลสั่งและเป็นหน้าที่ของกรมบังคับคดีเข้าทำการบังคับคดี ยึดทรัพย์ ขายทอดตลาด !! และอีกประเด็นที่หลายคนมักเข้าใจผิด(หรือไม่รู้เพราะไม่เข้าใจ) คือถ้าโดนยึดรถ จะเข้าใจไปว่า ว่า ปัญหาจบ ไม่ต้องชดใช้หนี้ อีกต่อไป ซึ่งตามข้อเท็จจริง ตามกฎหมายถือว่า ยังไม่จบนะคะ หากถึงขั้นตอนเจ้าหนี้จะเอารถไปขาดทอดตลาด ได้เงิน มาเท่าไหร่ เอามาหัก ลืบกลบหนี้กัน ถ้าพอดี กับหนี้สินที่ค้างไว้ ก็จบ แต่ ถ้า มีส่วนต่างไม่ครอบคลุมจำนวนหนี้คงค้าง ลูกหนี้ ก็ต้อง ชดใช้ ให้ครบ จึงจะจบค่ะ สรุปมีหนี้ต้องชำระดังเช่นวิญญูชนทั่วไปที่พึงตระหนักในหน้าที่ของลูกหนี้ที่ดีค่ะ หากมีปัญหารีบเจรจาไกล่เกลียก่อนถึงขั้นตอนการบอกเลิกสัญญา!!! กฎหมายเป็นเรื่องใกล้ตัวชนิดหายใจรดต้นคอ ความไม่รู้กฎหมายไม่สามารถใช้เป็นข้อแก้ตัว ข้ออ้างเพื่อที่จะไม่ปฎิบัติตามกฎหมายหรือปฎิเสธความรับผิดนะคะ และในขณะเดียวกันก็ไม่ควรใช้ช่องทางของกฎหมายมาเป็นข้ออ้างในการปฎิเสธความรับผิด(ชอบ)เข่นกันค่ะ(*---*) หมายเหตุ::ส่วนใครที่สนใจอยากทราบถึงวิธีการทวงหนี้ แนะนำให้อ่านเพิ่มเติมจากพรบ.ทวงหนี้ พศ.2558ซึ่งครอบคลุมทวงหนี้ทั้งในระบบ นอกระบบ ห้ามใช้ความรุนแรง วาจา ภาษาดูหมิ่น เปิดเผยหนี้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือก่อความรำคาญ พร้อมกำหนดเวลาทวงหนี้ ห้ามทวงหนี้กับคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ซึ่งพรบ.นี้จะมีผลบังคับอีก 180 วัน นับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 6 มีนาคม 2558 By:ปุณย่า