กรมทางแพทย์เตือน ฮีทสโตรก ภัยเงียบอันตรายจากอากาศร้อน

31 มีนาคม 2566, 16:39น.


      เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา กรมการแพทย์ได้ออกมาเตือนและให้ความรู้ถึงภาวะฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด เนื่องจากประเทศไทยในช่วงนี้มีอากาศร้อนสูงมากกว่าปกติ ทำให้หลายคนโดยเฉพาะคนทำงานกลางแจ้ง เกิดล้มป่วย เป็นลม หน้ามืดกันเป็นจำนวนมาก ยิ่งในผู้สูงอายุยิ่งมีความเสี่ยงต่อโรคลมแดดมากกว่าคนทั่วไป เพราะร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีเท่าที่ควร

      ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด คือภาวะหนึ่งที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถควบคุมความร้อนในร่างกายได้ อาการจะเริ่มจากที่อุณหภูมิร่างกายค่อยๆสูงขึ้น เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงเกินกว่า 104°F (40°C) ร่างกายจะเกิดความผิดปกติ อาจส่งผลรุนแรงและยาวนานต่อร่างกาย ระยะเวลาการฟื้นตัวของแต่ละกันจะแตกต่างกันจึงไม่สามารถคาดเดาได้ ซึ่งภาวะนี้ส่งผลกระทบได้ในหลายอวัยวะ ได้แก่ สมอง ไตล้มเหลว ตับ หัวใจและกล้ามเนื้อ อาการฮีทสโตรกถือเป็นเหตุฉุกเฉินที่ต้องได้รับการช่วยเหลือทันที หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด มีอาการอย่างไร?

- หน้ามืด ปวดศีรษะ

- หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ไม่สบายตัว

- คลื่นไส้อาเจียน

- กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริว ไม่มีเรี่ยวแรง

- อาจมีอาการชัก หมดสติ

วิธีป้องกันการเกิดฮีทสโตรกและการรักษาเบื้องต้น

- ดื่มน้ำเยอะๆโดยเฉพาะน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มเกลือแร่ เพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่

- ใช้ผ้าขนหนูเปียกหรือน้ำแข็งประคบตามผิวหนัง

หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง หากมีการเดินทางควรหยุดพักเป็นช่วงๆในที่เย็น มีร่มเงา

- สวมเสื้อผ้าหลวมๆ โทนสีอ่อน ถอดเสื้อผ้าบางชิ้นที่ไม่จำเป็นออก

- ทาครีมกันแดด SPF สูงเพื่อป้องกันผิวไหม้จากแสงแดด

- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในช่วงอากาศร้อนจัด



X