!-- AdAsia Headcode -->

มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ซื้อขาย สูบในที่สาธารณะ ผิดกฎหมายไหม?

02 กุมภาพันธ์ 2566, 16:07น.


      อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าที่ออกมาฉบับแรกคือ  ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557  กำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงน้ำยาและสารหรือสารสกัดที่ใช้เพื่อเป็นแหล่งกำเนิดควันหรือไอประกอบการสูบ เป็น “สินค้าต้องห้าม” นำเข้ามาในราชอาณาจักร

มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ผิดกฎหมายไหม ?

      ผู้ที่ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้ามีความผิดตามกฎหมาย โดยมีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับ 4 เท่าของราคา พร้อมกับภาษีที่ยังไม่ได้จ่ายตามพระราชบัญญัติศุลกากร

มีการนำเข้า ซื้อขาย ผิดกฎหมายข้อไหนบ้าง ?

      การนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าหรือน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 มาตรา 20 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่นำเข้าหรือส่งออก หรือทั้งจำทั้งปรับ

      ในส่วนของการซื้อขาย มีคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฉบับที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าหรือตัวน้ำยาสำหรับเติมบารากู่หรือบุหรี่ไฟฟ้า กฎหมายกำหนดให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้าม ห้ามให้ผู้ใดฝ่าฝืนขาย ให้เช่า หรือจัดหาบุหรี่ไฟฟ้าให้ไม่ว่าด้วยประการใดๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น ตลอดจนการเสนอหรือการชักชวนดังกล่าว หากผู้ใดฝ่าฝืนขายบุหรี่ไฟฟ้า จะต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 3) มาตรา 56 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      กรณีที่ผู้นำเข้าและผู้ขายเป็นคนเดียวกัน จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และในส่วนของผู้ผลิต นำเข้า และส่งออก มีความผิดตามมาตรา 242 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 4 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ริบของนั้นทันที


การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในที่สาธารณะ

      ทั้งการสูบบุหรี่มวนหรือบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่สาธารณะต่างก็เป็นข้อต้องห้ามที่ไม่ควรฝ่าฝืน ตามพระราชบัญญัติศุลกากรหากมีผู้สูบในสถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ถือว่าฝ่าฝืนมาตรา 42 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท



X