โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เป็นโรคที่มักพบได้ในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีหนูเป็นพาหะนำเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Leptospira เข้ามา แบคทีเรียชนิดนี้มักพบว่ามีการติดเชื้อในสัตว์ โดยพาหะมักจะเป็นสัตว์จำพวกหนู เมื่อได้รับเชื้อแล้ว อาจจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะมีการติดเชื้อที่ท่อไต และปล่อยเชื้อออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ยิ่งสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ในช่วงฤดูฝนแบบนี้ ฝนที่ตกลงมานั้นจะชะล้างเอาเชื้อโรคจากสถานที่ต่างๆและไหลมารวมกันบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ทำให้เชื้อโรคจากเชื้อปัสสาวะของหนูปะปนกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เชื้อสามารถแพร่กระจาย และแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอยู่ในบริเวณที่มีน้ำท่วมขังตามดิน โคลน แม่น้ำ ลำคลอง แอ่งน้ำ
การแพร่เชื้อโรคฉี่หนูสามารถเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ
1. การแพร่เชื้อทางตรง สัมผัสสัตว์ที่มีเชื้อแบคทีเรีย สัมผัสในส่วนที่เป็นแผล ปัสสาวะ เลือด เนื้อเยื่อหรือโดนสัตว์ที่มีเชื้อกัดโดยตรง
2. การแพร่เชื้อทางอ้อม ลุยน้ำ การย่ำดินโคลน หรือแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่สกปรกและมีน้ำท่วมขัง
โดยระยะฟักตัวของโรคตั้งแต่ได้รับเชื้อจนป่วยจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ และอาจนานถึง 3 สัปดาห์ โรคฉี่หนูอาจหายได้ 5-7 วัน แต่หากโรคพัฒนารุนแรงขึ้นจะมีอาการอันตรายมากมาย ทั้งไอเป็นเลือด หายใจลำบาก มือเท้าชา และอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้
อาการของโรคฉี่หนู
- มีไข้ ปวดหัว ในผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้สูงและหนาวสั่น
- รู้สึกเหนื่อยล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ
- คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกเจ็บช่องท้องหรือมีอาการท้องเสีย
- ระคายเคืองบริเวณตา อาจเกิดตาแดง
- มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง
- บางรายพบอาการไอเป็นเลือด
ผู้ป่วยกลุ่มที่ติดเชื้อรุนแรง จะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง เริ่มไอเป็นเลือด เนื่องจากเกิดภาวะเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ อาจรุนแรงถึงขั้นอวัยวะต่างๆภายในล้มเหลวและเสียชีวิตได้ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อเนื้อตัว ปวดกล้ามเนื้อ หากเริ่มมีอาการดังกล่าวและมีเหตุที่ต้องเดินลุยน้ำขังในก่อนหน้านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและทำการรักษาทันที
หากมีเหตุจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรสวมใส่รองเท้าบูทเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำโดนผิวหรือโดนบาดแผลที่ผิวหนัง และระวังอย่าให้น้ำเข้ารองเท้าที่สวมใส่ ในทางที่ดีควรหลีกเลี้ยงจากเดินลุยน้ำหรือแช่น้ำเป็นเวลาน้ำจะดีที่สุด หากเดินลุยน้ำไปแล้ว ควรรีบกลับบ้านอาบน้ำหรือทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วและเช็ดตัวให้แห้ง แม้ว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคฉี่หนูจะไม่ค่อยแสดงอาการที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตและสามารถหายเองไก้ ภายในระยะเวลา 5-7 วัน แต่ไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด ควรดูแลและหมั่นรักษาความสะอาดร่างกายและที่อยู่อาศัยเสมอ
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข