โรคซึมเศร้า (major depressive disorder) เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากภาวะความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม ทั้งสุขภาพจิตใจรวมไปถึงสุขภาพกาย สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรมในครอบครัว หรือมาจากสภาพแวดล้อมที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า เช่น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ รับอิทธิพลไม่ดีมากจากคนใกล้ชิด การเผชิญกับความสูญเสียครั้งใหญ่ การถูกทำร้าย ที่รวมถึงทั้งคำพูดวาจาและการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ ร่างกาย กลายเป็นแผลใจที่เลวร้ายจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ยิ่งในวิกฤตเศรษฐกิจที่ถดถอยลงแบบนี้ ยิ่งส่งผลให้คนเกิดความเครียดในเรื่องการเงินและการใช้ชีวิตกันมากขึ้น เลยทำให้ประชากรในประเทศไทยหลายคน ตกอยู่ในสภาวะซึมเศร้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสารเคมีในสมองที่ส่งผลต่อการเกิดโรคซึมเศร้า มี 3 ชนิด ได้แก่
หากสารใดสารหนึ่งเกิดทำงานผิดปกติขึ้นมา จะส่งผลให้สารตัวต่อไปทำงานผิดปกติไปตามๆกัน โรคซึมเศร้าเป็นโรคหนึ่งที่หลายคนยังไม่เข้าใจว่าแท้จริงแล้วคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นมีอาการอย่างไร ทางตามหลักการแพทย์คือ สารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ อันเกิดมาจากปัจจัยต่างๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้านั้น ส่วนมากจะมีอารมณ์เศร้าเกิดขึ้นเป็นเวลานาน อย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น หรือไปถึงขั้นรุนแรง มีอาการทางกายเพิ่มเข้ามา เกณฑ์การวินิจฉัย ”โรคซึมเศร้า” มีอาการดังต่อไปนี้มี
หมายเหตุ : ผู้ที่เข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าต้องมีอาการประมาณ 5 ข้อหรือมากกว่านั้น และต้องมีอาการเกิดขึ้นยาวนาน แทบจะตลอดเวลา เป็นทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไ
สถิติผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่มีประมาณ 2–7% ที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว โรควิตกกังวล รวมถึงโรคทางร่างกายทั่วไปที่ทำให้การใช้ชีวิตไม่ปกติ ก็ส่งผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้าแทรกซ้อนขึ้นมาได้ จากข้อมูลของกรมสุขภาพ เผยให้เห็นถึงร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในไทยที่เข้ารับการรักษาในช่วงปี 2561 – ปัจจุบัน
เห็นได้ชัดว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละปี แต่นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยที่รู้ตัวเองและเข้ารับการรักษาเท่านั้น บางคนก็เป็นโดยที่ตัวเองไม่ทราบ คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไปเอง ทำให้ไม่ได้เข้ารับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที โรคซึมเศร้า นั้นไม่ได้มีสาเหตุจากแต่เพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเท่านั้น การที่จะเป็นได้นั้นต้องมีปัจจัยมากระตุ้น เช่น การโดนด่าทอด้วยถ้อยคำรุนแรง การโดนทำร้าย ครอบครัวทะเลาะกัน หรือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ หรือในบางครั้งอาจไม่มีก็ได้ แต่กรณีแบบนี้สามามรถพบได้น้อย การที่จะรู้ได้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าไหม หรือการพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นผิดปกติหรือไม่ ให้สังเกตดูจากการมีอาการต่าง ๆ และระดับความรุนแรงของอาการเป็นหลัก หากมีอาการที่เข้ากับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า ควรรีบพบแพทย์และทำการรักษาทันที
วิธีการรักษาโรคซึมเศร้า
หลังจากที่แพทย์ประเมินว่าเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแล้วโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ วิธีเริ่มแรกที่ใช้รักษาคือการให้ยาตามอาการในขนาดต่ำก่อน ยากลุ่มที่ใช้ในปัจจุบันคือยากลุ่ม SSRI (Serotonin Reuptake Inhibitor) ซึ่งยาขนานแรกที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบันยาที่แพทย์สั่งจะเป็นตัวยา Fluoxetine และ Sertraline ซึ่งอาจจะมีตัวยาอื่นๆร่วมด้วยตามอาการ นอกจากจะให้ยามากินแล้ว แพทย์จะต้องนัดมาดูอาการเรื่อยๆ ในช่วงแรกจะอยู่ที่ 2-3 ครั้งต่อเดือน หากผู้ป่วยตอบสนองที่ดีต่อยาและการรักษา ไม่มีผลข้างเคียงต่อยา แพทย์จะปรับยาไปตามความเหมาะสมจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการคงที่ รวมถึงมีการรักษาด้วยวิธีอื่นๆด้วย
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่สามารถรักษาให้หายได้ในระยะเวลาอันสั้น และโรคนี้ไม่สามารถหายได้ด้วยการกินยา ปัจจัยที่จะทำให้ผู้ป่วยดีขึ้นอยู่ที่คนรอบข้างและระยะเวลาในการเยียวยาจิตใจของตัวผู้ป่วยเอง ยาเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สารในสมองที่ผิดปกติกลับมาคงที่ กล่าวกันว่า โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่รักษาหายยากหรือไม่มีโอกาสที่จะกลับมาหายได้สนิท เพียงแต่จะช่วยให้อาการของโรคบรรเทาลงและสามารถอยู่ร่วมกับโรคนี้ได้โดยไม่กระทบต่อการใช้ชีวิต หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงจุด ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงมีคนเคียงข้าง คอยช่วยเหลือ ให้กำลังใจ พร้อมที่จะเข้าใจและยอมรับในตัวของผู้ป่วย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยกลับมาดีขึ้น ซึ่งในบางคนแทบจะไม่ต้องใช้ยาในการรักษาเลย
สถิติร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในไทยที่เข้ารับการรักษา ที่มา : กรมสุขภาพจิต http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/