วันที่ 26 สิงหาคม 2565, ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ, สมาคมวิจัยวิทยาการขนส่งแห่งเอเชีย จัดเวทีเสวนาในประเด็น “การขนส่งเพื่อชีวิตที่ดีกว่า: ความยืดหยุ่น ความยั่งยืน และความปลอดภัยในระบบขนส่ง” เศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตขึ้นอยู่กับระบบขนส่งที่ดี จากเหตุการณ์โรคระบาดใหญ่ COVID-19 ทำให้ทุกคนได้เรียนรู้ถึงบทเรียนราคาแพงอย่างมหาศาลและดูเหมือนยากที่กลับมาสู่สภาวะปกติ โรคระบาดทำให้เรามีแรงผลักดันในการทำสิ่งต่าง เช่น เทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้เราสื่อสารกันได้ และมีส่วนร่วมกับคู่ค้าทั่วโลกจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้นำไปสู่ความจำเป็นในการเข้าถึงการขนส่งโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีความสำคัญมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในด้านดิจิทัลต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์ทางไกล, การจัดส่งอาหารและการขนส่ง, ออนไลน์, การชำระเงิน, การเรียนรู้ทางไกล และความบันเทิง เพื่อหลีกเลี่ยงการติดต่อและลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ COVID-19 คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในการจัดการกับวิกฤตและการฟื้นตัวหลังวิกฤตมีความสำคัญมากขึ้น ความร่วมมือด้านการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนจะเป็นประเด็นสำคัญในการให้ความช่วยเหลือในการตอบสนองอย่างมีประสิทธิผลของการระบาดใหญ่และในความพยายามฟื้นฟูที่ตามมา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การสร้างความยืดหยุ่น และการพัฒนาด้านความปลอดภัย พลังงาน และสิ่งแวดล้อมของการจราจรบนถนน เพื่อรองรับการระบาดใหญ่และวิกฤตการณ์ในอนาคต
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ความปลอดภัยเป็นสิ่งที่สำคัญ อากาศ การบิน และหลายสิ่ง ช่วงที่ผ่านมาสถิติอุบัติเหตุลดลงเนื่องจากสถานการณ์โควิด แต่ในขณะนี้ประเทศกลับมาเปิดแล้ว เราก็จะเริ่มเห็นความแตกต่าง ในฐานะกระทรวงคลัง หากกล่าวถึงเชิงเศรษฐกิจยังไงเราต้องทำโดยใช้เงินแน่นอน
ในโอกาสนี้ ต้องขอขอบคุณ ATRANS ที่ได้จัดงานในวันนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เจอเหล่านักวิจัยรุ่นเล็ก แต่มีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมจำนวนมาก จากภาวะโควิดที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ 2.6 ล้านบาท งบการเงินจะเพิ่มขึ้นประมาณ 3.1 ล้านบาท พร้อมกับส่วนของรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น จะมีเงินสนับสนุนเป็นจำนวนมากจากหลายภาคส่วน ทางรัฐบาลจัดสรร 60-70 % ให้กับด้านการจราจร ไม่ว่าจะเป็นโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับถนน ยืนยันว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้ารถไฟสายต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ จะมีการพัฒนาอย่างแน่นอน เช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ รวมถึงการพัฒนาทางรถไฟก็มีส่วนสำคัญด้วย
รวมทั้ง การสนับสนุนและลงทุนในด้านอุตสาหกรรมใน จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐาน อู่ตะเภา, แหลมฉบัง - มาบตะพุด ทางรัฐบาลจะทำให้มีการเชื่อมต่อกับลาวด้วยโครงข่ายรถไฟ ซึ่งการเชื่อมต่อนี้จะเน้นการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวอีกด้วย การปรับเป็นดิจิทัลจะเป็นส่วนที่ทำให้การคลัง สนับสนุนด้านสวัสดิการต่าง ๆ เศรษฐกิจสีเขียวจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจของไทย จากไบโอแหล่งธรรมชาติ ช่วยในเรื่องสิ่งแวดล้อม “BCP economy model” พร้อมลดอัตราภาษี ให้สามารถนำเข้ารถพลังงานไฟฟ้าได้ และพยายามที่จะปรับภาษีนำเข้าโดยได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาล พร้อมทั้งเพิ่มสถานีชาร์ตไฟ ที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากเพิ่มระดับตามความต้องการให้ได้
ทั้งนี้ จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อทำให้ระบบด้านการคมนาคมทรงตัว ปัจจุบันทางกระทรวงการคลัง ได้เน้นทำเรื่องความยั่งยืนเกี่ยวกับระบบการคมนาคมให้ดีที่สุด โครงสร้างพื้นฐานในอนาคตของไทยจะเป็นในรูปแบบโครงการสีเขียวมากขึ้น และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงการประหยัดพลังงาน ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองและการทำให้เป็นดิจิทัล “รมว.กระทรวงการคลัง” กล่าว
“นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ จำเป็นต้องนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะในเรื่องอุบัติเหตุทางถนน ปัญหารถติดความแออัดหนาแน่นในการสัญจร (ข้อมูลในปี 2562 คนกรุงเทพใช้เวลาอยู่บนถนน เฉลี่ยทั้งปี 71 ชม.) ปัญหามลพิษ และปัญหาการเชื่อมต่อเส้นเลือดฝอย เพื่อจูงใจให้คนลดใช้รถยนต์ส่วนตัว เพิ่มสัดส่วนการใช้รถสาธารณะมากขึ้น โดย กทม. จะทำงานภายใต้การสร้างพลัง และให้ความสำคัญกับผู้คน การสร้างทางเท้าให้เมืองเดินได้ การปรับปรุงระบบโครงสร้างทางวิศวกรรม และการบริหารจัดการระบบจราจร
ล่าสุดในปี 2565 ตัวเลขอุบัติเหตุทางถนนใน กทม. ตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ค. มีผู้เสียชีวิตแล้ว 624 ราย เพิ่มขึ้น 35% จากปีที่ผ่านมา (ปี 2564 ตาย 462 ราย) และบาดเจ็บ 71,367 คน เพิ่มขึ้น 26% (ปี 2564 บาดเจ็บ 56,684 คน) ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนสถานการณ์ ว่าอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย สูงเป็นอันดับต้นๆ ในเอเชียและระดับโลก ที่น่าสนใจคือสถิติที่ผ่านมา ชี้ว่ามากถึง 82.94% ของผู้เสียชีวิตเป็นเพศชาย ที่เหลือ 17.06% เป็นผู้หญิง ซึ่งอาจจะสอดคล้องกับข้อมูล ประเภทรถที่เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต ที่พบว่า 86% เป็นรถจักรยานยนต์ (ผู้ชายขับมากกว่า) 14% เป็นรถยนต์
“เรามีแผนในการพัฒนาทางเท้า 1,000 กม. ทั่ว กทม. และการปรับปรุงทางเท้าเพื่อเชื่อมต่อ สู่ขนส่งสาธารณะหลัก เช่น รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน รถประจำทาง ควบคู่ไปกับการวางระบบจัดการจราจรอัจฉริยะ (ITMS) รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย” สำหรับความสำคัญในการใช้เทคโนโลยี เข้ามาแก้ปัญหา กทม. นั้น แพลตฟอร์ม “ฟองดูว์” ช่วยสร้างการทำงานและการแก้ปัญหารูปแบบใหม่ ที่สนองตอบความต้องการของประชาชน ทุกคนสามารถถ่ายรูปและแจ้งร้องเรียนเข้าระบบ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบในพื้นที่เข้าไปตรวจดู และแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องรอคำสั่งการผ่านผู้ว่าฯ กทม.
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา หลังรับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ถึงวันนี้มีคนส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามาแล้ว 133,110 เคส ได้รับการแก้ไขแล้ว 71,331 เคส ในจำนวนนี้เป็นเรื่องแจ้งเกี่ยวกับ ปัญหาทางเท้า 7,848 เคส แก้ไขแล้ว 4,123 เคส ปัญหาเกี่ยวกับถนน 28,659 เคส แก้ไขแล้ว 14,956 เคส