วันนี้ (23 สิงหาคม 2565) ตามนโยบายกระทรวงคมนาคม โดยท่านศักดิ์สยาม ชิดชอบ และ ดร.อธิรัฐ รัตนเศรษ ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เร่งพัฒนาโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 นั้น กทท. จึงดำเนินการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (Memorandum of Agreement : MOA) ระหว่าง กทท. และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) National Telecom Public Company Limited (NT) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบังในการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ ๓ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง โดยมีนายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการ กทท. และ พันเอก สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ พร้อมด้วยนายบัณฑิต สาครวิศวะ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง และนายสรพงษ์ ศิริพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)ร่วมเป็นสักขีพยานฯ ณ ห้องประชุมชั้น 17 อาคารที่ทำการ กทท.
สำหรับการลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้มีมติอนุมัติโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ ๓ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถท่เรือแหลมฉบังในการรองรับอุปสงค์จากปริมาณตู้สินค้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต และสนับสนุนการเป็นประตูการค้า สำหรับพัฒนาอุตสาหกรรมและการค้าของประเทศไทยที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน และเพิ่มพูนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่ง ที่สนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างแท้จริงประกอบกับการท่าเรือฯ ตรวจสอบพบว่า มีระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วเส้นเพชรบุรี-ศรีราชา ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติจำกัด (มหาชน) อยู่ในพื้นที่ก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ ๓ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งการท่าเรือฯ และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน ได้ประชุมหารือร่วมกันในการรื้อย้ายระบบเคเบิลใต้น้ำดังกล่าว เพื่อให้การก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเป็นไปตามที่กำหนด จนนำมาสู่การจัดทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ เพื่อชดเชยเยียวยาการรื้อย้ายระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วเส้นเพชรบุรี-ศรีราชา ในวงเงิน 250 ล้านบาท ให้แก่บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวว่า กทท. เล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ ๓ ซึ่งเป็นระบบการขนส่งทางน้ำที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และการลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ จะเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจสู่นานาประเทศและเป็นการพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล รวมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการรองรับปริมาณตู้สินค้าที่เพิ่มมากขึ้นในอนคต อันเป็นประโยชน์ในภาพรวมของเทศ ต่อไป