!-- AdAsia Headcode -->

ส่องสถิติ คน Gen Y ทำไม? เน้นทำงานมากกว่าสร้างครอบครัว

19 สิงหาคม 2565, 16:37น.


      จากผลสำรวจกลุ่มคน Gen Y ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในยุคปัจจุบันกลุ่มคนรุ่นใหม่ในช่วงอายุ 21 – 37 ปีหรือคน Gen Y นั้น มีวิถีการใช้ชีวิตที่แตกต่างไปจากสมัยก่อนมาก เพราะหันไปให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตแบบ work life balance สร้างความยืดหยุ่นให้การทำงานและการใช้ชีวิตของตนเองและคิดถึงความมั่นคงเรื่องงาน การเงิน การใช้ชีวิตให้เต็มที่ โดยไม่ต้องมีภาระอะไร ในส่วนภาระที่พูดถึงในที่นี้คือ ผลกระทบในเรื่องงานที่ผู้หญิงต้องแบกรับ ถ้าเริ่มตัดสินใจมีลูก ทั้งเรื่องการเงินและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่อาจเสียไป มันไม่ได้ส่งผลแค่ในระยะเวลา 1-2 ปีหลังมีลูก แต่อาจส่งผลต่อเส้นทางของการงานไปทั้งชีวิต โดย motherhood wage penalty หรือ เงินเดือนของผู้หญิง ที่ลาออกไปเลี้ยงลูกแล้วกลับมาทำงานนั้น ลดลงถึง 7-20% เลยทีเดียว

      แม้ในสมัยก่อนการแต่งงานและมีลูกเปรียบเสมือนเหมือนโซ่ทองคล้องใจที่มาช่วยเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันด้วยสภาพเศรษฐกิจหลายปีที่ผ่านมานี้อยู่ในสถาวะถดถอย มีค่าครองชีพที่สูงขึ้น ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่ได้มาไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน ทำให้คนไทยหลายคนไม่อยากสร้างครอบครัว หลายคนมีกังวลเรื่องรายได้ ค่าใช้จ่าย หนี้สิน และมองว่าการมีลูกในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ เราคงไม่สามารถเลี้ยงดูเขาได้อย่างมีคุณภาพได้ เพราะค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูก 1 คน จำเป็นต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณ 500,000-2,000,000 บาท/คน ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงมาก เมื่อเทียบกับรายได้โดยเฉลี่ยต่อคนแล้วอยู่ที่ประมาณ 26,000 บาทต่อเดือน

      คนรุ่นใหม่จึงมีเป้าหมายที่อยากประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าการสร้างครอบครัว บางคนสนใจเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆ เพิ่มสกิลให้กับตัวเอง ในเรื่องของค่านิยมในการใช้ชีวิตคู่ก็เริ่มเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่ครองตัวเป็นโสด ใช้ชีวิตคนเดียวไม่อยากมีใคร ส่วนคนมีคู่ก็ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน โดยที่ไม่แต่งงานและไม่มีลูก ซึ่งเปอร์เซ็นต์การชีวิตแบบนี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี



ไล่เรียงสถิติ  3 ปีให้หลัง ร้อยละของคน Gen Y ที่โสดและมีงานทำ




  • ปี 2562   อยู่ที่ร้อยละ 41.7


  • ปี 2563   อยู่ที่ร้อยละ 43.1


  • ปี 2564   อยู่ที่ร้อยละ 44.5



อัตราการเกิดของเด็กย้อนหลัง 3 ปี จากการเก็บข้อมูลในกลุ่มผู้หญิงช่วงอายุ 15-49 ปี




  • ปี 2562   อัตราการเกิด (ต่อแสนคน) อยู่ที่ 6.18


  • ปี 2563   อัตราการเกิด (ต่อแสนคน) อยู่ที่ 5.87


  • ปี 2564   อัตราการเกิด (ต่อแสนคน) อยู่ที่ 5.45



      ยกตัวอย่างในงานวิจัยสกว. ไขปริศนา เหตุผลที่คนเจนวาย (Gen Y) อยากทำงานมากกว่าสร้างครอบครัว มีเหตุผล ด้านดังนี้




  1. ปัจจัยด้านมหภาค เกี่ยวกับ บทบาททางเพศ ในอดีตคนส่วนใหญ่มักให้ฝ่ายชายต้องเป็นผู้นำครอบครัว ส่วนฝ่ายหญิงต้องเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก ซึ่งในปัจจุบันสังคมส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนบทบาททั้งชายและหญิงต่างมีความเท่าเทียมกันในทุกๆเรื่อง โดยไม่ลงภาระไว้ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนเกินไป แต่กฎหมายการลางานเลี้ยงลูก ที่สามี สามารถลางานได้ เพื่อเข้ามา ช่วยภรรยา เลี้ยงลูกได้เพียง 15 วันเท่านั้น ซึ่งกฎหมายนี้เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่สะท้อนสังคมให้เห็นว่าสุดท้ายมันก็ไม่ต่างจากเดิมไปเลยแม้แต่น้อย พวกนโยบายต่างๆก็ยังไม่สามารถ ทำให้เรื่องการเลี้ยงลูก กลายมาเป็นหน้าที่ ที่เท่าเทียมกัน ระหว่างทั้งสองฝ่ายได้ 


  2. ปัจจัยด้านสังคม หลายครอบครัวมองว่าการมีลูกเมื่อไม่พร้อมส่งผลให้เกิดปัญหาหลากหลายอย่าง ทั้งเรื่องการเงิน การงาน การใช้ชีวิต อิทธิพลจากคนใกล้ตัวก็มีผลเช่นกัน เช่น ถ้าคนรอบตัวยังไม่แต่งงาน ยังใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ เปรียบเทียบกับการมีครอบครัว มีลูกแล้วลำบาก อาจยิ่งทำให้รู้สึกว่าไม่มียังดีกว่า


  3. ปัจจัยด้านที่ทำงาน เป็นปัจจัยที่ส่งผลสูงที่สุด เนื่องจากคนในช่วงอายุ 21-37 ปี หรือคน Gen Y ยังอยู่ในช่วงวัยทำงาน สร้างเนื้อสร้างตัว และอยากประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ซึ่งการมีลูกอาจทำให้พวกเขาไม่สามารถทุ่มเทให้กับงานและชีวิตได้อย่างเต็ม


  4. ปัจจัยด้านบุคคล บางคนอาจมีทุกอย่างพร้อมแล้วการสร้างครอบครัวจึงไม่มีปัญหาอะไร กลับเป็นเรื่องดีมากกว่าที่คิด แต่อีกหลายๆคนที่ยังไม่มีความพร้อมนั้นจะมองว่า การมีลูกนั้น ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และนอกเหนือไปกว่านั้นอาจจะเสียโอกาสสำคัญต่างๆที่วางแผนไว้ในชีวิตไปหลายอย่าง เช่น การท่องเที่ยว การใช้ชีวิตอิสระ ได้ทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จนสำเร็จ และอีกหลายๆอย่าง



      เราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจเลือกทางเดินของชีวิตตัวเอง เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับชีวิตโดยไม่ต้องให้ใครมาบังคับ หากแต่ในอนาคตถ้าคนไทยยังมีความต้องการที่จะใช้ชีวิตตามค่านิยมแบบนี้ อาจส่งผลระยะยาวต่อสภาพเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มจะชะลอตัวลง ประชากรวัยรุ่นลดลง ส่งผลให้คนวัยทำงานลดน้อยลงจนไม่เพียงพอ และทำให้มีผู้สูงอายุเพิ่มมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้อัตราการเติบโตของ GDP ลดลง อาจจะต้องหันไปพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ

      ซึ่งในกรณีนี้ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยส่งเสริม สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่อยากสร้างครอบครัวกันมากขึ้น เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของไทยให้เดินหน้าในทิศทางที่ดีขึ้น ผลักดันนโยบายการสร้างคุณภาพของประชากร ควรมุ่งเน้นนโยบายที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการทำงานและการสร้างครอบครัว เพื่ออนาคตที่ดีของคนทุก Generation ต่อจากนี้ต่อไป



ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ http://www.nso.go.th/sites/2014/Lists/Infographic/Attachments/149/170+65_1.pdf



X