ตามข้อมูลของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ออกมาชี้แจ้งถึงกฎกระทรวงกำหนดความเร็วในทางพิเศษฉบับใหม่ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 22 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งประกาศกฎกระทรวงดังกล่าว มาจากการกำหนดอัตราความเร็วสำหรับการขับรถในทางเดินรถ พ.ศ.2564 อาศัยอำนาจตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 โดยนายกรัฐมนตรีได้ออกกฎกระทรวงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 มีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 240 วัน นับแต่วันประกาศฯ ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 22 กรกฎาคม 2565
ทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะเริ่มปรับปรุงป้ายจราจร ให้สอดคล้องกับการกำหนดอัตราความเร็วใหม่ ซึ่งแต่เดิมการกำหนดความเร็วบนทางพิเศษนั้นได้กำหนดความเร็ว แบ่งเป็นทางด่วนเขตเมือง ไม่เกิน 80 กม./ชม. และทางด่วนนอกเขตเมือง ไม่เกิน 90 กม./ชม.
กำหนดความเร็ว “ทางยกระดับ” และ “ทางระดับดิน”
รถยนต์ 4 ล้อ
รถโรงเรียน รับส่งนักเรียน
รถบรรทุกมากกว่า 2.2 ตัน และรถโดยสารมากกว่า 15 คน
ทางพิเศษที่ดูแลโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ปัจจุบันมีทั้งหมด 8 สาย ดังนี้
1. ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1)
2. ทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)
3. ทางด่วนฉลองรัช
4. ทางด่วนบูรพาวิถี
5. ทางด่วนอุดรรัถยา
6.ทางพิเศษสาย S1 (ทางด่วนขั้นที่ 3 สายใต้ ตอน S1)
7. ทางด่วนกาญจนาภิเษก
8. ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ในการบังคับใช้ความเร็วดังกล่าว ส่งผลให้ทางด่วนในเมืองทั้งหมด สามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 100 ก.ม./ช.ม ส่วนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์ และถนนทางหลวงบางช่วงที่ได้รับการกำหนดและบังคับใช้ สามารถใช้ความเร็วสูงสุด ได้ถึง 120 กม./ชม. หากใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท