วิธีสังเกตอาการ มีดังต่อไปนี้
- มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ
- เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต
- ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- มีผื่นหรือตุ่มขึ้นบริเวณใบหน้า และลำตัว
- ผื่นกลายเป็นตุ่มหนอง และตกสะเก็ดร่วงออกมา
- ในผู้ป่วยบางรายพบผื่นตุ่มน้ำเกิดขึ้นในช่องปากและอวัยวะเพศมากถึง 60%
ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน และมีระยะฟักตัวนานได้ถึง 21 วัน โดยอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตสูงสุดจะอยู่ในกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งตามปกติแล้วอาการป่วยของโรคฝีดาษลิงในคน อาการจะไม่รุนแรงมากนัก และสามารถหายเองได้หลังผ่านไปประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยการดูแลรักษาตามคำแนะนำของแพทย์
การแพร่เชื้อ – ติดต่อ
การแพร่จากสัตว์สู่คนเกิดขึ้นมาจากการสัมผัสบาดแผลที่ติดเชื้อ เลือด สารคัดหลั่ง ของสัตว์ที่กำลังป่วย พบได้ในสัตว์ตะกูลลิง สัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก กระต่าย หนูป่า หรือถูกสัตว์ที่มีเชื้อโรค กัด ข่วน จนเกิดแผล รวมถึงการกินอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์มีเชื้อโรค ผ่านการปรุงสุกไม่เพียงพอ
สำหรับการแพร่เชื้อจากคนสู่คนเกิดจากการสัมผัสบาดแผล ตุ่มหนอง เลือด ที่ติดเชื้อโดยตรง หรือสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย เสมหะ น้ำมูก เหงื่อ ที่ปนเปื้อนบนเสื้อผ้า ที่นอน ของใช้ส่วนตัว
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) โรคที่เกิดจากสัตว์สู่คน (Zoonosis Diseases) เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์กับคนที่หาพบได้มากในแถบแอฟริกากลาง และแถบตะวันตก เกิดขึ้นจากจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกันกับโรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ (Smallpox) เคยเป็นโรคระบาดร้ายแรงโรคหนึ่งที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วมากมายในอดีต ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้ไม่ร้ายแรงเหมือนกับในอดีตแล้ว เพราะเราได้รับวัคซีนป้องกันโรคในตอนเด็ก รวมถึงมีระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย สะอาด ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
โรคฝีดาษลิงมี 2 สายพันธุ์ ได่แก่
- สายพันธุ์ West African clade อาการไม่รุนแรง อัตราป่วยจนเสียชีวิตอยู่ที่ 1 %
- สายพันธุ์ Central African clade อาการรุนแรงกว่า อัตราป่วยจนเสียชีวิตอยู่ที่ 10 %
ผลจากการตรวจโรคจากผู้ป่วยล่าสุด พบสายพันธุ์ West African clade ซึ่งไม่รุนแรงถึงแก่ชีวิต แต่อย่างไรก็ตามหากเกิดอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ และเข้ารักษาตัวทันทีเพื่อลดการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้