นายแพทย์ทวีวงษ์ จุลกมนตรี ประธานคณะอนุกรรมการศึกษาเสนอแนะแนวทางป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน วุฒิสภา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการขับเคลื่อนงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครราชสีมา

โดยศูนย์อำนวยการควมมปลอดภัยทางถนนจังหวัดนครราชสีมา ได้รายงานถึง การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 พ.ศ. 2554-2561 ขับเคลือนงาน โดย ศปถ.จังหวัด มีหน่วยงานระดับจังหวัด บูรณาการร่วมกัน
รวบรวมข้อมูลอุบัติเหตุ 3 ฐาน ลักษณะการทำงาน แบบ "Top to Down" การประชุม ไม่ได้ประชุมเป็นการเฉพาะระดับอำเภอขับเคลื่อนเฉพาะช่วง
เทศกาล
- ระยะที่ 2 พ.ศ.2562 ขับเคลื่อนกลไกการงานจากจังหวัดสู่อำเภอ กำหนดให้มี ศปถ. อำเภอ 32 อำเภอ ที่มีกลไกในการขับเคลือนงาน มีศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุระดับอำเภอ ลงสอบสวนวิเคราะห์อุบัติเหตุในพื้นที่ และแก้ไขจุดเสี่ยงในพื้นที่ตามศักยภาพ จัดตั้ง ศปถ.อปท.ครบ 333 แห่ง
- ระยะที่ 3 พ.ศ. 2563-2564 ขับเคลื่อนการท่างานจากอำเภอสู่ตำบล
"ตำบลขับขี่ปลอดภัย" ขับเคลื่อนการดำเนินงาน ศปถ.อปท. 333 บูรณาการเครือข่ายในพื้นที่รณรงค์สร้างวินัยจราจรตลอดทั้งปี กำหนดมาตรการในชุมชนแบบมีส่วนร่วม ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยใน
สถานศึกษา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งแก้ไขจุดเสียงอย่างเป็นระบบ และจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุระดับตำบล

สถิติอุบัติเหตุทางถนน จากข้อมูล 3 ฐาน ระหว่างปี 2561-2564 พบว่า พื้นที่ จ.นครราชสีมา มีผู้เสียชีวิต รวม 2,850 ราย ขณะที่ตัวเลขผู้บาดเจ็บระหว่างปี 2560-2563 ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค IDCC รวม 41,089 คน
สำหรับพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. ขับเร็ว 2. เมาแล้วขับ 3. ตัดหน้ากระชั้นชิด โดยกลุ่มอายุที่ประสบอุบัติเหตุสูงที่สุดในปี 2564 ที่ผ่านมา กว่า 30% คือคนอายุ 50 ปีขึ้นไป เวลาเกิดเหตุยังคงเป็นช่วเวลาเดิม 16.00 - 20.00 น.
ทั้งนี้ เป้าหมายในปี 2565 นครราชสีมา ตั้งเป้าลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ให่ต่ำกว่า 25.42 คนต่อประชากรแสนคน หรือ ไม่เกิน 665 คนภายในสิ้นปี