1 ก.ย.64 ดีเดย์ 'สรรพากร' จัดเก็บภาษีผู้ให้บริการ e-service จากต่างประเทศ

01 กันยายน 2564, 11:30น.


     วันที่ 1 ก.ย. นี้ ถือเป็นวันแรกที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ของกรมสรรพากร ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 หรือ พ.ร.บ. e-Service เริ่มมีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย




     สำหรับภาษี e-Service จะจัดเก็บภาษีจากผู้ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งมีรายได้จากการให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%) นำส่งให้กรมสรรพากร แบ่งออกเป็น 5 ประเภท


     - ธุรกิจที่มีรายได้จากค่าโฆษณา เช่น Facebook YouTube Google 


     - แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่เปิดให้ซื้อขายผ่านออนไลน์ เช่น Amazon, Ebay 


     - ธุรกิจตัวกลางที่เป็นเอเจนซี่ ซื้อ - ขาย ตั๋วเครื่องบินและจองโรงแรม เช่น Booking.com, Agoda, Airbnb เป็นต้น


     - แพลตฟอร์มตัวกลางระหว่างคนซื้อ – คนขาย โดยให้บริการเรียกแท็กซี่ หรือฟู้ดดีลิเวอรี เช่น Grab


     - ธุรกิจบริการออนไลน์ที่มีรายได้จากระบบสมาชิก โดยให้บริการดูหนัง ฟังเพลง เช่น Netflix, Spotify, Apple Play, Zoom เป็นต้น


     ซึ่งการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ เป็นเรื่องที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศที่ต้องเสียภาษี และไทยเป็น 1 ใน 60 กว่าประเทศทั่วโลกที่ได้เริ่มดำเนินการเก็บภาษีประเภทนี้ โดยกรมสรรพากรประเมินว่า จะมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี
X