!-- AdAsia Headcode -->

จริงหรือมั่ว? น้ำขวดพลาสติกตากแดดในรถ ดื่มแล้วเสี่ยงมะเร็ง

25 สิงหาคม 2564, 18:01น.


  มีการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์บ่อยๆ ว่า น้ำในขวดพลาสติกที่วางไว้ในรถซึ่งจอดตาก แดดนานๆ ดื่มแล้วอันตราย☠️ เพราะอาจมีสารก่อมะเร็งละลายอยู่ในน้ำ เรื่องนี้มีทั้งส่วนที่"จริง" และ"ไม่จริง" แต่จะเป็นอะไรนั้น เราหาคำตอบมาให้แล้วค่ะ

  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการทดลองนำขวดน้ำดื่มทิ้งไว้ในรถที่จอดตากแดด เมื่อนำน้ำมาตรวจสอบ ปรากฏว่า ไม่พบสารก่อมะเร็ง แต่มีความเป็นไปได้ที่จะพบเชื้อแบคทีเรียปะปนในน้ำที่ถูกเปิดดื่มแล้ว และวางตากแดดในรถ เพราะขวดน้ำดื่มที่เปิดแล้วแต่ดื่มไม่หมด มีโอกาสเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคมากกว่า ดังนั้นน้ำดื่มที่เปิดแล้วควรดื่มให้หมดในวันเดียวนะคะ

  ส่วนที่ว่าสารก่อมะเร็งจากภาชนะพลาสติก เมื่อถูกความร้อนจากแดดอาจละลายปนเปื้อนในน้ำ ข้อนี้มีความเป็นไปได้น้อยมาก เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของขวดน้ำดื่ม ว่าต้องผลิตจากพลาสติก PET (พลาสติกใส มองทะลุได้) ซึ่งไม่มีสารก่อมะเร็ง และทนความร้อนได้ไม่ต่ำกว่า 60-95 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดีค่ะ

   ขวดน้ำพวกนี้ก็ไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ เพราะอาจมีแบคทีเรียตกค้างในขวด หากนำมาใส่น้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ ก็จะเกิดการปนเปื้อนได้เหมือนกัน

   สรุป น้ำขวดพลาสติกที่ยังไม่เปิดดื่ม ทิ้งตากแดดในรถดื่มได้ไม่อันตราย แต่ถ้าเปิดแล้วควรดื่มให้หมด เก็บไว้ดื่มวันต่อๆ ไปอาจป่วยเพราะเชื้อโรคที่เล็ดลอดเข้าไปในขวดได้นะคะทุกคน

  #JS100FunParty

 (ภาพ Gettyimages)



   อ่านบทความสนุกๆเพิ่มเติมได้ที่ js100funparty




 

X