วันนี้ หากใครเปิดเข้าในหน้าของ Google จะเห็นว่า มีภาพการ์ตูนผู้ชายกำลังตัดเย็บหน้ากากอนามัย ซึ่ง Google ทำขึ้นเพื่อเป็นการของฉลองครบรอบวันเกิด ครบรอบ 142 ปี ของนายแพทย์ผู้ให้กำเนิดหน้ากากอนามัย ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นายแพทย์ก็คือนายแพทย์ วู ลีน เทห์ (Wu Lien-teh) เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ.1879 ในครอบครัวชาวจีนตั้งรกรากอยู่ในเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร
นายแพทย์ วู ลีน เทห์ เมื่อเรียนจบประถมที่โรงเรียนในปีนัง เขาได้รับทุนการศึกษาของพระบรมราชินีนาถ สำหรับอาณานิคมอังกฤษ ที่มลายู และสิงคโปร์ เพื่อเข้าศึกษาแพทยศาสตร์ ต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี 1896 ทำให้นายแพทย์ วู ลีน เทน์ เป็นนักเรียนเชื้อสายจีนคนแรกที่คว้าปริญญาสาขาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ต่อมาในปี ค.ศ.1910 นายแพทย์ วู ลีน เทน์ ได้รับการเชื้อเชิญ จากรัฐบาลในการเป็นหัวหน้าคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา “โรคระบาดแมนจูเรีย” ในเมืองฮาร์บิน เมื่อได้ศึกษาผู้ป่วยและการระบาดพบว่าการระบาดครั้งนี้เกิดจากการติดต่อระหว่างคนสู่คนผ่านฝอยละอองขนาดเล็ก จากการที่ผู้ป่วยไอหรือจาม ทำให้เขาเสนอวิธีการป้องกันการระบาดด้วยการใส่ “หน้ากากป้องกันโรคระบาด” ที่คิดค้นขึ้น ซึ่งลักษณะของหน้ากากในครั้งนั้น คล้ายกันมากกับหน้ากากอนามัยในปัจจุบันคือ เป็นผ้าฝ้ายรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวน 2 ชิ้น ซ้อนกัน คลุมส่วนจมูก ปาก ไปจนถึงคางของผู้ใส่ แล้วใช้ผ้าพันแผลหรือผ้ากอซ พาดลงบนผ้าฝ้ายแล้วพันรอบคอผู้สวม คล้ายกับสายคล้องหูของหน้ากากอนามัยในปัจจุบัน นายแพทย์ วู เลียน เทห์ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ.1960 ในวัย 80 ปี ต่อมาในปี 2015 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฮาร์บินได้เปิดสถาบันวู ลีน เทห์ เพื่อระลึกถึงนักระบาดวิทยาผู้นี้