ผู้ติดเชื้อรายใหม่ จ.สมุทรสาคร 69 คน-คัดกรองเชิงรุกรอบโรงงาน
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ว่าใช้แผน 3 ระยะ ขณะนี้อยู่ที่ระยะการควบคุมโรคในพื้นที่มีการระบาดของโรคสูงในโรงงานต่างๆ หรือที่เรียกว่า บับเบิล แอนด์ ซีล (Bubble and SEAL) แต่ยังมีการคัดกรองเชิงรุกพื้นที่รอบโรงงาน แต่ความชุกของโรคไม่สูง ทำให้สถานการณ์ดูเหมือนควบคุมได้ดี
สำนักงานสาธารณสุข จ.สมุทรสาคร รายงานตัวเลขเมื่อเวลา 24.00 น.วันที่ 14 ก.พ.64
-ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ 69 คน ทำให้มีผู้ติดเชื้อสะสม 15,737 คน
-จากจำนวนผู้ป่วยรายใหม่พบว่าเป็นการค้นหาเชิงรุก 16 คน เป็นคนไทย 10 คน ต่างชาติ 6 คน
-จากจำนวนผู้ป่วยรายใหม่พบว่าเป็นการไปรักษาที่โรงพยาบาล 53 คน เป็นคนไทย 27 คน และต่างชาติ 26 คน
-การดูแลรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 3,639 คน
-สังเกตอาการ 12,098 คน
-ผู้ป่วยที่หายและเดินทางกลับบ้านเพิ่มขึ้น 728 คน รวม 11,461 คน
สมุทรสาคร เปิด 21 ตลาด ส่วนตลาดรถไฟ เลื่อนเปิดวันที่ 18 ก.พ.
หลังจากที่เมื่อวานนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยฝ่ายงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครสมุทรสาคร นำรถน้ำดับเพลิงที่บรรทุกน้ำคลอรีนเข้มข้น ฉีดพ่นตลาดในพื้นที่ฝั่งมหาชัยอีกครั้ง จะเน้นไปที่ตลาดใหญ่ๆ ที่มีผู้มาจับจ่ายซื้อของเป็นจำนวนมาก เช่น ตลาดถนนสุขาภิบาล ตลาดสดมหาชัย และตลาดรถไฟ เป็นต้น ตามแผนปฏิบัติการล้างตลาด 22 แห่ง ครบจบ 3 วัน (12-14 ก.พ.64) คืนความมั่นใจให้ประชาชนทั้งผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้ขาย
ส่วนการเปิดตลาดวันนี้ 15 ก.พ.64 เบื้องต้นจะเปิดก่อน 21 ตลาด ยกเว้นตลาดรถไฟ พ่อค้าแม่ค้าในตลาดต้องการที่จะปิดปรับปรุงต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อให้ได้มาตรฐานมากขึ้นกว่าเดิมที่ทำกันอยู่แล้วในปัจจุบัน ทั้งเรื่องระเบียบ มาตรการ และการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันเพิ่มเติม เช่น แผงกั้นหน้าร้าน เป็นต้น
ตลาดรถไฟ จะเลื่อนไปเปิดวันที่ 18 ก.พ.64 และแจกบัตรประจำตัวผู้ค้าและแรงงานในแต่ละร้าน ที่ผ่านการตรวจเชื้อโควิด-19 แล้วไม่พบเชื้อ
CR:สำนักงานสาธารณสุข จ.สมุทรสาคร
คาด ญาติจาก จ.สมุทรสาคร แพร่เชื้อให้ผู้ป่วยติดเตียงที่สมุทรสงคราม
จ.สมุทรสงคราม รายงานพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 1 คน เป็นรายที่ 70 ชายอายุ 54 ปี มีภาวะเป็นผู้ป่วยติดเตียง อยู่ที่ หมู่ 10 ต.บ้านปรก อ.เมือง
-28 ม.ค.64 ผู้ป่วยมีภาวะป่วยติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ส่วนใหญ่ภรรยาและลูกชายดูแล บางวันพี่ชายมาช่วยดูแลบ้าง เวลา 10.00-10.30 น. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแก้วฟ้า มาใส่สายอาหารผ่านทางจมูก
-29 ม.ค.-5ก.พ.64 ไม่สบายเข้าโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ด้วยอาการไข้ ซึม ตาเหลือง โดยช่วงเวลากลางคืน จะมีลูกชายดูแลทุกวัน ภรรยามาเยี่ยมบางวัน เมื่อวันที่ 1 ก.พ.64 เวลา 15.00-15.30 น. มีญาติ 5 คน จาก จ.สมุทรสาครมาเยี่ยมประมาณครึ่งชั่วโมง สวมหน้ากากอนามัยทุกคน
-11ก.พ. 64 เวลา 10.00-15.00 น. เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า เนื่องจาก สายระบายน้ำดีออกจากตับหลุด ส่งต่อไปรักษาที่ สถาบันมะเร็ง ก่อนที่จะส่งต่อ มีการตรวจคัดกรองโควิด-19
-12 ก.พ. 64 ภรรยาได้รับแจ้งว่าสามีติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า โดยโรงพยาบาลจัดรถมารับที่บ้าน
*ประวัติเสี่ยง เนื่องจากมีคนที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงมาเยี่ยมอาจนำเชื้อโรคมาแพร่ให้ผู้ป่วย
*มีผู้สัมผัสใกล้ชิดที่บ้าน 3 คน เจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยที่นอนเตียงใกล้กับผู้ป่วยรายนี้ คนเฝ้าไข้รวม 10 คน โรงพยาบาล ดำเนินการนัดตรวจหาเชื้อ
*ติดตามญาติจาก จ.สมุทรสาครทั้ง 5คน ตรวจหาเชื้อ
CR:สำนักงานสาธารณสุข จ.สมุทรสงคราม
นครปฐม เชื้อกระจายอีก 8 เป็นคนในครอบครัว-เพื่อนบ้าน
นพ.วิโรจน์ รัตนอมรสกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ยืนยันว่า พบผู้ป่วย
ระยอง เจอป่วยเพิ่ม 3 คน จากการดื่มสุรา ไปเที่ยวด้วยกัน
นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการ จ.ระยอง กล่าวว่า สถานการณ์
ปรับการคัดกรองคนจากพท.เสี่ยงโควิด กลายพันธุ์ เก็บตย.ทันที
การคัดกรองคนที่เดินทางจากประเทศที่มีเชื้อกลายพันธุ์ South African Variant กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปรับให้มีความรวดเร็วมากขึ้น เช่น การเก็บตัวอย่างทันทีที่ถึงประเทศไทย คัดกรองผู้ที่มีอาการและประวัติเสี่ยงเข้าโรงพยาบาลทันที รวมทั้งมีระบบเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่ที่ทันเวลาก่อนที่จะเดินทางออกจากโรงพยาบาล
หลังจากตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 สายพันธุ์ South African Variant รายเเรกของไทย เป็นชายไทยอายุ 41 ปี กลับมาจากแทนซาเนีย เมื่อ 29 ม.ค.64 มีโรคประจำตัวเป็นหืด ความดันโลหิตสูง และน้ำหนักเกิน (BMI 31) ไปทำการรับซื้อพลอยในแทนซาเนีย นาน 2 เดือน ระหว่างที่อยู่ในแทนซาเนียได้เข้าร่วมงานเลี้ยง โดยผู้เข้าร่วมงานไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยโดยให้เหตุผลว่าไม่มีเคสผู้ป่วยในประเทศ 29 ม.ค. 2564 เดินทางจากแทนซาเนียต่อเครื่องที่เอธิโอเปีย ถึงไทย คัดกรองอาการป่วย ณ ด่านควบคุมโรค ระหว่างประเทศ สนามบินสุวรรณภูมิ ไม่มีไข้และอาการป่วย เดินทางไปกักตัวใน State Quarantine
3 ก.พ. 64 เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 1 พบผลเป็นบวก
4 ก.พ.64 ส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐ ผู้ป่วยให้ประวัติว่ามีไข้ต่ำๆ ไอ รับไว้รักษาในห้องแยก
5 ก.พ. 64 ทีมสอบสวนโรค ส่งตัวอย่างตรวจระบุสายพันธุ์ของโควิด-19 เนื่องจากเดินทางมาจากแอฟริกา เพื่อเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย (EID-TRC)
12 ก.พ. 64 ผลการตรวจสายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 (Whole Genome Sequencing)โดยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทย (EID-TRC) พบเป็น South African Variant
13 ก.พ. 64 ทีมสอบสวนโรคในพื้นที่และกรมควบคุมโรค ประเมินการสัมผัสผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่ที่ State Quarantine และ โรงพยาบาล พบว่า เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจกรรมอย่างรัดกุม ได้เก็บตัวอย่างส่งตรวจ PCR ในเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งเจ้าหน้าที่ใน State Quarantine รวม 41 คน (โรงพยาบาล 31 คน State Quarantine 10 คน) ผลเป็นลบทั้งหมด
ทั้งนี้ ประเทศที่มีรายงาน South African Variant ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแถบแอฟริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และอเมริกา
สำหรับเชื้อโควิด-19 South African Variant เป็นการกลายพันธุ์ของเชื้อเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ โดย นพ.โอภาส กล่าวว่า หากติดตามมาตั้งแต่ต้นปี 63 ขณะนั้นที่คนทั่วไปเข้าใจเรียกว่า สายพันธุ์อู่ฮั่น ต่อมามีการกลายพันธุ์ไปต่างๆ ในกลางปีพบสายพันธุ์ G มากที่สุดทั่วโลก ซึ่งพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงจากสายพันธุ์เดิมมากพอสมควร
การกลายพันธุ์ ประกอบด้วย ปัจจัยต่างๆ
1.การติดเชื้อง่ายขึ้น ที่เราจับตาอยู่คือสายพันธุ์อังกฤษ
2.การทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนน้อยลง โดยขณะนี้ทั่วโลกจับตาสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ที่ระบาดในแอฟริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐฯ แต่ยังไม่ค่อยพบในเอเชีย มีข้อมูลเบื้องต้นว่า อาจทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพน้อยลง เป็นที่มาของข่าวว่าแอฟริกาใต้ระงับการให้วัคซีนบางตัว
3.การกลายพันธุ์แล้วโรครุนแรงมากขึ้น ขณะนี้ยังไม่มีรายงานในส่วนนี้
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อที่เข้าสู่ประเทศไทย พบว่าส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์ G ไม่มีความรุนแรงแต่ติดต่อเชื้อง่าย เพราะผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ