กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 - 14 กุมภาพันธ์ 2564 รวม 923 คน
จากการสอบสวนโรคผู้ติดเชื้อถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ จำนวน 912 คน เป็นผู้มาจากต่างจังหวัด Admit รพ.ในพื้นที่ กทม. 180 คน และเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ กทม. 732 คน
การติดเชื้อในประเทศ ส่วนใหญ่มาจากการสัมผัสผู้ป่วยยืนยันที่เป็นคนในครอบครัวหรือจากคนในที่ทำงาน การไปสถานบันเทิง/สถานที่ชุมชน และการตรวจเชิงรุกในตลาด และชุมชน
รายงานไทม์ไลน์ไปแล้ว 880 คน วันนี้ มีไทม์ไลน์ผู้ติดเชื้อที่อยู่ใน กทม. ซึ่งได้สอบสวนโรคแล้วเสร็จเพิ่มอีก 16 คน
ทั้งนี้ การแจ้งข้อมูลการสอบสวนโรค จะรายงานข้อมูลที่ไม่พาดพิงถึงบุคคลก่อนที่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 10
ผู้ป่วยรายที่ 881 , 883, 885, 886 ผู้ป่วยเพศชาย และผู้ป่วยรายที่ 884 ผู้ป่วยเพศหญิง เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน พักอยู่ที่หอพักจุฬาวิทยนิเวศน์
ผู้ป่วยรายที่ 882 ผู้ป่วยหญิง เป็นพนักงานทำความสะอาด ที่ห้องสมุดชั้น 3 ตึกวชิราวุธ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ป่วยรายที่ 887 ผู้ป่วยหญิง อาชีพบุคลากรทางการแพทย์ ทำงานที่รพ.คันนายาว
ผู้ป่วยรายที่ 888 ผู้ป่วยหญิง อาชีพพนักงานโรงแรม ในเขตภาษีเจริญ
ผู้ป่วยรายที่ 889 ผู้ป่วยหญิง ผู้สูงอายุ 70 ปี มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยรายก่อนหน้า
ผู้ป่วยรายที่ 890 หญิงชาวเมียนมา พนักงานโรงงานเย็บผ้าในแขวงบางแค เขตบางแค
ผู้ป่วยรายที่ 891, 892, 893, 894 , 895 ผู้ป่วยหญิงชาวเมียนมา พนักงานโรงงานเย็บผ้าในแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ
ผู้ป่วยรายที่ 896 หญิงชาวเมียนมา ทำงานที่โรงงานเย็บผ้าในเขตธนบุรี สามีที่ทำงานในโรงงานที่แขวงบางหว้าเป็นผู้ติดเชื้อ