การรับฟังความคิดเห็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) จากเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ และประชาชนในพื้นที่จ.นครนายก กว่า 200คน เกี่ยวกับโครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-นครนายก-สระบุรี ซึ่งเป็นทางพิเศษที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานคร กับ จังหวัดสระบุรี เพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่หนาแน่น ของถ.พหลโยธิน จากกรุงเทพฯ ที่มุ่งสู่ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมฟังส่วนใหญ่สนใจในแนวทางของโครงการที่จะผ่านถนนลำลูกกา คลอง10 - ผ่านสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ - ผ่านถ.รังสิตนครนายก ช่วง อ.บ้านนา - และผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข33(ถ.สุวรรณศร) กม.121 และจะมาบรรจบเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข3222(บ้านนา-แก่งคอย) เพื่อเข้าสู่ ถ.มิตรภาพ ช่วงกม.10 ใน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อมุ่งเข้าสู่ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อไป เพราะโครงการนี้ จะผ่านใกล้จังหวัดนครนายกมากที่สุด ซึ่งเป็นการช่วยส่งเสริมการเดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัด แต่ถึงอย่างไรผู้เข้าร่วมฟัง ก็เสนอให้ผู้ดำเนินโครงการช่วยศึกษาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุม เช่น สุขภาพในอนาคตของคนในชุมชนรอบๆ และพื้นที่เกษตรกรรมที่โครงการตัดผ่าน เพราะถ้าหากดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ ก็อาจจะส่งผลต่อมลภาวะทางฝุ่นควันจากท่อไอเสีย ,เสียงของรถ ,รวมถึงของเสียงจากทางด่วนที่จะไหลลงสู่พื้นที่เกษตรกรรม หลังฝนตก นี่จึงเป็นเรื่องที่ประชาชนในพื้นที่ขอให้ผู้ดำเนินการช่วยนำไปศึกษาและกลับมาชี้แจงในครั้งต่อไป
ด้านนายวิชิต รุจิวิพัฒน์ ผู้จัดการโครงการฯ เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ ถึงจังหวัด สระบุรี โดยจะผ่านจังหวัดปทุมธานี และนครนายก ซึ่งครอบคลุม 4จังหวัด 10อำเภอ และ 39ตำบล โดยในส่วนของนครนายกจะผ่าน 2อำเภอ คือ อำเภอองค์รักษ์ และอำเภอบ้านนา ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นของการศึกษาความเหมาะสมทางด้าน วิศวกรรม ,เศรษฐกิจ ,การเงิน ,และผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ยอมรับว่าโครงการนี้อาจจะมีผลกระทบต่อผู้ที่จะถูกเวรคืนบ้าง แต่การทางพิเศษ จะชดเชยราคาที่ดินที่มีการประเมิณในปีล่าสุด รวมถึงจะชดเชยค่าอื่นๆ อาทิ ค่ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ค่าพืชผลทางการเกษตร โดยมีราคาที่เป็นมาตรฐาน แต่ทางด้านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ทางโครงการก็มีหน่วยงานการศึกษาอย่างละเอียด เพื่อให้มีผลกระทบกับชุมชนโดยรอบโครงการให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ในวันพรุ่งนี้(9ม.ค.) ก็จะมีการไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นจังหวัดสุดท้าย ก่อนที่จะสรุปรายละเอียดในการจัดทำแผนงานในขั้นต่อไป
วิรวินท์