จับกลุ่มคนไทย ลอบนั่งเรือข้ามแม่น้ำเมย ไปจนมุมที่ อ.แม่สอด จ.ตาก
กองกำลังนเรศวร ลาดตะเวนเฝ้าตรวจในพื้นที่รับผิดชอบ บริเวณริมแม่น้ำเมย บ้านวังตะเคียน หมู่ 7 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก ตรวจพบกลุ่มคนนั่งเรือยนต์จากฝั่ง
จากการตรวจสอบบนเรือพบหญิง 2 คนทราบชื่อ คือ น.ส. วาฮีดา (ไม่มีนามสกุล) อายุ 15 ปี และ ด.ญ. นาเดีย (ไม่มีนามสกุล) อายุ 12 ปี เป็นบุคคลสัญชาติ
นอกจากนี้ ยังตรวจพบชาวไทย 4 คน ลักลอบนั่งเรือยนต์จากฝั่งเมียนมาข้ามแม่น้ำเมยเข้ามาที่ฝั่งประเทศไทยและได้หลบหนีด้วยรถยนต์ ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นอัลพาร์ด สีดำ ไม่ทราบแผ่นป้ายทะเบียน เจ้าหน้าที่จึงติดตามรถยนต์คันดังกล่าวจนมาถึงบริเวณลานจอดรถท่าข้ามที่ 11 บ.ท่าอาจ หมู่ 3 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก พบกลุ่มบุคคลชาวไทย ลักษณะท่าทางมีพิรุธ เมื่อคนขับรถยนต์สังเกตเห็นเจ้าหน้าที่จึงขับหลบหนีไป
จากการสอบถามบุคคลทั้งหมดให้การว่า ได้ลักลอบข้ามแดนผิดกฎหมายจริง จึงได้ควบคุมตัวส่งให้ตำรวจ สภ.แม่สอด เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย และส่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลแม่สอด
CR:แฟ้มภาพ เฟซบุ๊ก กองกำลังนเรศวร
รพ.แม่สอด จ.ตาก ชี้แจง ผู้ป่วยชายวัย 70 ปี รักษาตัวอยู่ในห้อง ICU ยังไม่เสียชีวิต
เพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก โพสต์ข้อความชี้แจงระบุว่า ตามที่มีข่าวกรณีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพศชายอายุ 70 ปี ลักลอบข้ามแดนมารักษาที่โรงพยาบาลแม่สอด จ. ตาก และเสียชีวิต ว่า "ไม่เป็นความจริง"
ข้อเท็จจริงจากทีมรักษาผู้ป่วยโดยตรง ดังนี้ ผู้ติดเชื้อ เพศชาย อายุ 70 ปี สัญชาติไทย เข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2563 จนถึงปัจจุบันที่ห้องความดันลบ โรงพยาบาลแม่สอด ตอนนี้ได้รับการรักษาอยู่ในห้อง ICU "ยังไม่เสียชีวิตดังที่เป็นข่าว" การแถลงไทม์ไลน์ผู้ป่วยใช้เวลาเนื่องจากมีความซับซ้อน ต้องตรวจทานความถูกต้องก่อนเผยแพร่ ทีมสอบสวนโรคได้ลงพื้นที่ดำเนินการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง-ต่ำ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
CR:โรงพยาบาล อ.แม่สอด จ.ตาก
“หมอธีระ” เผย ทั่วโลกเตรียมตั้งคลินิก รักษาผู้ป่วยที่มีอาการคงค้างหลังจากติดเชื้อโควิด-19
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ‘Thira Wotatanatat’ ชี้แจงอาการคงค้างของผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากรักษาหายแล้วว่า ทางการแพทย์ เรียกภาวะนี้ว่า "Chronic COVID" หรือ "Long COVID" หรือ "COVID Long Hauler" อาการคงค้าง เช่น อาการไอ, หายใจลำบาก, อ่อนล้า, เจ็บหน้าอก, อาการผิดปกติจากระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน,กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ, อาการผิดปกติจากระบบประสาท เช่น ปวดหัว จำอะไรไม่ค่อยได้ ชัก ซึมเศร้า เป็นต้น
หากคนที่หายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้ว และมีอาการคงค้างดังกล่าวจะรักษาอย่างไร รศ.นพ.ธีระ กล่าวว่า เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคใหม่และภาวะอาการคงค้างเหล่านี้ก็เป็นสิ่งใหม่ที่การแพทย์ทั่วโลกเพิ่งได้เจอจึงยังมีความรู้ที่จำกัดมาก ส่วนใหญ่อาการคงค้างที่เกิดขึ้นก็จะได้รับการดูแลรักษาตามลักษณะของแต่ละอาการไป ขณะนี้ หลายประเทศทั่วโลกก็เริ่มมีแนวคิดที่จะจัดตั้งคลินิกหรือแผนกที่ดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการคงค้างหลังจากติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจาก มีจำนวนมากขึ้น คาดว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบในปัจจุบันน่าจะมีมากมายหลายล้านคน
จากการศึกษา เชื่อว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ประมาณร้อยละ 30-40 แม้จะได้รับการดูแลรักษาจนหายแล้ว จะมีอาการคงค้างเป็นภาวะนี้ได้ตั้งแต่หลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน และยังไม่รู้ว่าจะยาวนานไปเพียงใด เนื่องจากโรคโควิด-19 นี้เป็นโรคใหม่ไม่ถึงปี ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าจะนานเป็นปีๆ หรือนานกว่านั้นได้
ทีมแพทย์จากอิตาลี รายงานไว้ว่า มีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว มีอาการคงค้างอยู่ถึง ร้อยละ 87 ไม่ว่าจะมีอาการอ่อนล้า หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก ปวดข้อ
ทีมจากสหราชอาณาจักร สำรวจผ่านแอปพลิเคชั่นในมือถือ รายงานว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการคงค้างต่างๆ อยู่ราวร้อยละ 10 เชื่อว่า การที่สำรวจพบน้อยกว่ารายงานก่อนหน้านี้ เนื่องจากเป็นการสำรวจในประชากรทั่วไป ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อ แต่ไม่ได้มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
สหรัฐฯ รายงานว่ามีเพียงร้อยละ 65 ของผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาแล้วประเมินว่ามีอาการปกติเหมือนก่อนป่วย
ทีมวิจัยจากเดนมาร์กและหมู่เกาะฟาโรห์ สำรวจผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 180 คน พบว่ามีถึงร้อยละ 53.1 ที่มีอาการคงค้างหลังจากเริ่มมีอาการตอนแรก เกิน 4 เดือน โดยอาการคงค้างแตกต่างกันไป ตั้งแต่อ่อนล้า ปวดข้อ ดมไม่ได้กลิ่น ลิ้นรับรสไม่ได้