9 จังหวัดภาคใต้ น้ำท่วมหนัก เสียชีวิต 3 เดือดร้อนกว่า 250,000 ครัวเรือน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานว่า พื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และวาตภัย รวม 9 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวม 70 อำเภอ 358 ตำบล 2,318 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 261,253 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 3 ราย
-สุราษฎร์ธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดอนสัก อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอท่าฉาง อำเภอบ้านนาเดิม รวม 21 ตำบล 120 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,449 ครัวเรือน
-นครศรีธรรมราช น้ำท่วมขังในพื้นที่ 19 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอพระพรหม อำเภอท่าศาลา อำเภอทุ่งสง อำเภอพิปูน อำเภอนาบอน อำเภอลานสกา อำเภอสิชล อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอขนอม อำเภอนบพิตำ อำเภอปากพนัง อำเภอหัวไทร อำเภอฉวาง อำเภอพรหมคีรี รวม 133 ตำบล 942 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 184,750 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำ ระดับน้ำเพิ่มขึ้นและยังมีฝนตกในพื้นที่
-พื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 1 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช รวม 3 อำเภอ 11 ตำบล 51 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 131 หลัง ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว
-พัทลุง น้ำท่วมในพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอป่าบอน อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพะยูน อำเภอป่าพะยอม อำเภอบางแก้ว และอำเภอศรีบรรพต รวม 65 ตำบล 655 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 32,658 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลงและยังมีฝนตกในพื้นที่
-ตรัง น้ำท่วม ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง อำเภอนาโยง อำเภอห้วยยอด อำเภอรัษฎา รวม 15 ตำบล 56 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,635 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำเพิ่มขึ้นและยังมีฝนตกในพื้นที่
-สงขลา น้ำท่วมขังในพื้นที่ 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสงขลา อำเภอจะนะ อำเภอสะเดา อำเภอหาดใหญ่ อำเภอควนเนียง อำเภอสิงหนคร อำเภอนาหม่อม อำเภอรัตภูมิ อำเภอบางกล่ำ อำเภอสทิงพระ อำเภอระโนดอำเภอกระแสสินธุ์ รวม 54 ตำบล 317 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 30,570 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลงและยังมีฝนตกในพื้นที่
-ปัตตานี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอยะหริ่ง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอมายอ อำเภอปะนาเระ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอหนองจิกรวม 24 ตำบล 79 หมูบ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,687 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลงและยังมีฝนตกเล็กน้อยในพื้นที่
-นราธิวาส น้ำท่วมขังในอำเภอสุไหงโก-ลก รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 223 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลงและไม่มีฝนตกในพื้นที่
CR:สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
‘หมอยง’เตือนสถานบันเทิงแหล่งแพร่กระจายโรคได้ดี
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุ
สถานบันเทิงเป็นแหล่งแพร่กระจายโรคได้อย่างดี มีตัวอย่างมากมายจากประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศทางตะวันตก สถานบันเทิงเป็นสถานที่ปิด และมีเสียงดัง มีการพูดคุยกันเสียงดังและใกล้ชิด และเมื่อมีการดื่มเหล้า แน่นอนทั้งการกำหนดระยะห่าง การใส่หน้ากากอนามัย การดูแลตนเองก็จะลดลงทันที จึงเป็นแหล่งระบาดได้อย่างรวดเร็วและจำนวนมาก เชื้อไวรัส จะชอบอากาศเย็น และอยู่ได้นานมากกว่าอากาศที่ร้อน สถานที่ปกปิด เช่น สถานบันเทิงต่างๆ จะเป็นแหล่งแพร่กระจายได้ง่ายว่าสถานที่อยู่โล่งแจ้ง
การระบาดที่
การติดต่อของโรคโควิด-19 พบได้ง่ายในบุคคลในบ้านเดียวกัน มากกว่าการติดในที่ทำงานถึงเกือบ 10 เท่า ผู้ที่มีอาการจะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อได้มากกว่าผู้ไม่มีอาการ 3-4 เท่า การแพร่กระจายโรคจะเริ่มจากในเมืองจากนั้นกระจายสู่ชนบท
กรณีที่พบผู้ป่วยปอดบวม มาโรงพยาบาลแล้วตรวจพบเป็นโควิด-19 แสดงว่ามีการติดเชื้อหรือแพร่กระจายโรคอีกเป็นจำนวนมากที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ
CR:Yong Poovorawan
มหาดไทย เข้มทุกจังหวัดของไทย เฝ้าระวังคนลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย
หลังจากพบคนไทยที่เดินทางผ่านช่องทางธรรมชาติจากประเทศเมียนมาติดเชื้อโควิด-19 นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้ปฏิบัติตามมาตรการเพิ่มเติมของศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 โดยเคร่งครัด คือ
1.เฝ้าตรวจ เฝ้าระหว่างการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในพื้นที่ตอนใน โดยให้ความสำคัญเร่งด่วนและความเข้มข้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนด้านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ
2. ตรวจกำกับดูแลกิจการหรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคฯ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ร้านอาหาร สถานประกอบการ สถานบันเทิง สนามกีฬา สถานที่ท่องเที่ยว ให้มีความเข้มงวดในมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 มากขึ้น
3.ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เฝ้าสังเกตและกำกับดูแลบุคคลที่กลับเข้ามาในพื้นที่ชุมชน เพื่อซักถามและให้คำแนะนำมาตรการป้องกันโรคโควิด-19
4. สร้างการรับรู้ความเข้าใจในการขอความร่วมมือภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ทั้งผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ ผู้จัดกิจกรรม และผู้ร่วมกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะ ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ทำความสะอาดพื้นผิวและอุปกรณ์ที่มีการสัมผัสบ่อย เว้นระยะห่างหรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบุคคลอื่น และใช้แพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ในการเข้า-ออกสถานที่สาธารณะ