5 อุปกรณ์แก้นอนกรน เรื่องจริงหรือแค่หลอกลวง?

03 กันยายน 2563, 15:52น.

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined offset: 77

Filename: news/detail.php

Line Number: 394


            "นอนกรน" ถือเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญให้กับใครหลายคน จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอุปกรณ์แก้นอนกรนที่มีวางขายอยู่ทั่วไปนั้นเป็นทางเลือกที่คนจำนวนไม่น้อยตัดสินใจซื้อมาใช้งาน ทว่าอุปกรณ์แก้นอนกรนหลาย ๆ ชิ้นก็มีราคาแพง แต่เอ๊ะ! อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยแก้ปัญหาได้จริงหรือ? ด้วยความห่วงใยจาก รศ.นพ.วัฒนชัย โชตินัยวัตรกุล ประธานศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช โรงพยาบาลศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับ 5 อุปกรณ์แก้นอนกรนเรื่องจริงหรือหลอกลวงรวมถึงแนะนำวิธีแก้นอนกรนที่ถูกต้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ

            5 อุปกรณ์แก้นอนกรน เรื่องจริงหรือหลอกลวง?


            “นอนกรน” หรือ “ภาวะทางเดินหายใจหย่อน” เป็นอาการที่คนส่วนใหญ่สนใจรักษา ซึ่งในท้องตลาดเองก็มีอุปกรณ์มากมายแต่ถึงอย่างไรอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่เป็นมาตรฐานนั้นไม่ได้มีเยอะมากนัก โดยอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมทั้ง 5 ได้แก่



            1. คลิปหนีบจมูก

            จากการศึกษาพบว่าเวลาเราใช้คลิปหนีบจมูกจะช่วยลดอาการนอนกรนได้ แต่อย่างที่บอกว่าอาการนอนกรนเป็นภาวะทางเดินหายใจหย่อนที่จะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ขณะหลับมันมีผลต่อสุขภาพมากกว่า แต่หากพูดถึงลดเสียงกรนก็อาจจะลดได้บ้างในบางคน แต่หากจะให้หายไปเลยยังไม่พบข้อมูลยืนยัน

            
2.สายรัดคาง

            บางคนอ้าปากหายใจมีลมผ่านออกจากปากก็จะทำให้เกิดการกระพือของเนื้อเยื่อต่างๆ เกิดเสียงนอนกรนขึ้นมา สายรัดคางทำหน้าที่ดึงคางกลับไป ลมที่ผ่านบริเวณเนื้อเยื่อบางส่วนก็อาจจะหายไป อาการนอนกรนก็อาจจะดีขึ้น แต่การอ้าปากไม่ได้เป็นการอ้าปากแบบธรรมดา อาจจะอ้าตลอดช่วงเวลานอนสายรัดคางก็อาจจะใช้ได้ผลบางส่วน หรือบางครั้งการกรนก็ไม่ได้เกิดจากการอ้าปากยิ่งเท่ากับว่าใช้ไม่ได้ผลเลย

            3.ฟันยาง

            ในส่วนของฟันยางไม่ได้แก้อาการนอนกรนอีกเช่นกัน โดยฟันยางเป็นอุปกรณ์ที่นำไปสวมใส่ฟัน ประโยชน์ก็คงจะแก้ในเรื่องการนอนกัดฟัน หรือโรคบดเคี้ยวฟันขณะนอนหลับ ซึ่งจริงๆ แล้วอุปกรณ์แก้ภาวะทางเดินหายใจหย่อนขณะนอนหลับควรเป็นอุปกรณ์เลื่อนกรามมากกว่า โดยปกติแล้วจะให้ผู้ป่วยไปใส่เองมีทันตแพทย์เป็นผู้ออกแบบเพื่อให้เข้ากับช่องปาก ส่วนใครที่จะซื้ออุปกรณ์นี้เองไม่แนะนำเพราะอาจเกิดปัญหาเรื่องการสบฟันที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดปัญหาเรื่องการบดเคี้ยวในอนาคต

            4. นาฬิกาข้อมือ

            โดยปกติแล้วไม่ได้เกี่ยวข้องกันเท่าไหร่ เนื่องจากการกรนเกิดจากการผิดปกติของการไหลของลม ช่องทางเดินหายใจ ซึ่งนาฬิกาแก้นอนกรนอาจมีประโยชนในเรื่องการบันทึกเมื่อมีภาวะกรนหรือนอนหลับผิดปกติเกิดขึ้นมากกว่า

            5. ยาพ่นแก้นอนกรน

            สุดท้ายยาพ่นแก้นอนกรนอุปกรณ์นี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะลักษณะของยาพ่นจริงๆ แล้วจะรักษาเรื่องภูมิแพ้ ลดอาการบวมหรืออักเสบได้ดีกว่า เรื่องนอนกรนจึงไม่ได้ผล ซึ่งต้องศึกษาด้วยว่ายาพ่นที่ใช้เป็นยาจริงหรือส่วนผสมของอาหารเสริม

            อย่างไรก็ดี วิธีแก้นอนกรนที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย เริ่มแรกแพทย์จะส่งผู้ป่วยไปวินิจฉัยตรวจคุณภาพการนอนหลับ (Sleep Test) 1 คืน แล้วดูว่ามีภาวะที่ว่าเกิดขึ้นหรือไม่ เมื่อพบว่ามีมีปัญหาการนอนกรนก็จะทำการรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) ขณะหายใจเข้า ช่วยลดเสียงกรน เปิดทางเดินหายใจ หรือการรักษาวิธีอื่นๆ เช่น การผ่าตัดทางเดินหายใจส่วนต้น, ใช้เครื่องมือทางทันตกรรมเพื่อทำหน้าที่ให้คางส่วนล่างยื่นออกมา (เปิดทางเดินหายใจส่วนล่าง)



            โดยทั่วไปอุปกรณ์แก้นอนกรนทั้งหลายไม่แนะนำให้ไปซื้อเอง ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนอนกรนเพื่อออกแบบการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด ทั้งนี้ หากใครมีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับสามารถติดต่อรับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช โทร.02-419-7536 (หอพักพยาบาล 3 ชั้น 6)



 



ข้อมูล : Mahidol Channel

ข่าวทั้งหมด

X