ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นกรณีตรวจพบหญิงไทย 2 คน ติดเชื้อ
1.ระยะฟักตัวของโรคส่วนใหญ่จะเป็น 2 วัน ถึง 7 วัน อาจพบได้ถึง 14 วัน และอาจจะเป็นไปได้แต่น้อยมากถึง 21 วัน ดังนั้นในทางปฏิบัติผู้ที่พ้นระยะการกักกันโรค 14 วัน มักจะแนะนำให้ไปกักกันตัวที่บ้านต่ออีก 14 วันเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการป้องกัน การกระจายโรค
2.การตรวจพบเชื้อหลังจาก 14 วันไปแล้ว ก็เป็นไปได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในช่วง 14 วัน ที่อยู่ในสถานที่กักกัน เช่น ใน
3.ผู้ป่วยมาติดเชื้อในประเทศไทย โอกาสนี้เป็นไปได้น้อยมาก ขณะนี้ไม่พบการติดต่อเกิดขึ้นในประเทศไทยมากกว่า 80 วันแล้ว
4.มีความเป็นไปได้ที่ผู้นั้นติดเชื้อมาจากต่างประเทศ หรือป่วยอยู่ต่างประเทศแล้ว และเมื่อมาถึงเมืองไทย เชื้อมีปริมาณน้อย ในบางช่วงก็ตรวจไม่พบ และต่อมาหรือบางช่วงก็ตรวจพบ เช่น การระบาดในรอบแรกของเรา เราได้ทำการศึกษาร่วมกับสำนักการแพทย์และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร พบว่า ก่อนกลับจากโรงพยาบาลตรวจไม่พบเชื้อ หลังจากนั้นเราติดตามก็ยังมีการพบเชื้อแต่เชื้อมีปริมาณน้อยมาก ทั้งนี้ ในการติดตามระยะยาวที่เราทำการศึกษา จำนวน 212 คน พบว่าในช่วง 4-12 สัปดาห์ หลังจากที่มีอาการและผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว เรายังตรวจพบเชื้อได้ประมาณร้อยละ 6.6 ของผู้ป่วย เราพบไวรัสได้หลังจากมีอาการ 36– 105 วัน แต่ปริมาณไวรัสที่พบน้อยมาก
ดังนั้นการพบเชื้อดังกล่าว ผู้ป่วยไม่มีอาการ รวมทั้งการตรวจปริมาณไวรัส ถ้ามีเป็นจำนวนน้อยโอกาสที่จะแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นก็น้อยมากๆ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ