การประชุมเพื่อกำหนดแนวทางจัดระเบียบรถติดสัญญาณไซเรนและไฟวับวาบ พลตำรวจตรีอดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ประชุม ร่วมศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน และมูลนิธิกู้ภัย 8 มูลนิธิทั่ว กทม. จัดระเบียบการใช้สัญญาณไฟวับวาบและเสียงสัญญาณไซเรนรถฉุกเฉิน
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้หารือถึงรายละเอียดในการใช้รถติดสัญญาณไซเรน พร้อมกำหนดรูปแบบ ลักษณะรถที่จะสามารถขออนุญาตติดไซเรนตามที่หน่วยการแพทย์ฉุกเฉินกำหนดซึ่งได้โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือรถระดับแอดวานซ์โดยจะรถเป็นรถตู้ทั้งหมด ส่วนระดับเบสิคจะอนุญาตให้ใช้รถตู้หรือรถกระบะที่มีหลังคาคลุมได้โดยรถกระบะจะต้องสามารถเปิดท้าย และมีที่กั้นระหว่างคนขับรวมทั้งจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้น ซึ่งองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ได้อนุญาตแล้ว 608 คันประกอบไปด้วย รถทหาร รถพยาบาลฉุกเฉิน รถกู้ชีพ และรถชนิดอื่นๆ โดยรถที่ผ่านการขออนุญาตแล้วจะต้องใช้สัญญาณไฟสีแดง-น้ำเงินเท่านั้น ส่วนรถที่ยังไม่ได้ทำการขึ้นทะเบียน มูลนิธิจะต้องยื่นเอกสารต่อบก.จร.และนำรถเข้าตรวจสอบสภาพรถซึ่งในการขออนุญาตแต่ละครั้งจะมีอายุการใช้งาน 3 ปี
ในส่วนของรถตัดถ่างในกฎหมายกำหนดว่าให้ใช้ไฟสีเหลืองเท่านั้นและต้องจดทะเบียนภายใต้ชื่อหน่วยงานนิติบุคคล ดังนั้นจะต้องมีการพิจารณาให้สามารถใช้ไฟสีแดง-น้ำเงินได้ซึ่งจะต้องมีการศึกษาข้อกฎหมายเพิ่มเติม
ด้านเจ้าหน้าที่อาสาที่จะเข้ามาทำงานช่วยเหลือผู้ป่วย กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และศูนย์เอราวัณจะจัดอบรมบุคคลที่จะเข้ามาทำงาน โดยมูลนิธิต่างๆจะต้องส่งคนเข้ามา โดยต้องคัดเลือกบุคคลที่มีความประพฤติดี ไม่มีคดีติดตัว และจะได้รับบัตรแสดงตนอย่างชัดเจน ภายหลังจากผ่านการอบรม
สำหรับการใช้วิทยุสื่อสารก็จะต้องดำเนินการขออนุญาตให้ถูกต้องด้วย จากการตรวจสอบพบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทระหว่างมูลนิธิเกิดจากการที่โรงพยาบาลเอกชนบางรายมีการว่าจ้างครั้งละ 1,000-1,500บาทให้นำคนเจ็บมาส่งซึ่งเรื่องนี้จะต้องมีการแก้ไขปัญหากันต่อไปเพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง โดยทั้งหมดจะเร่งดำเนินการให้เสร็จก่อนวันที่ 5 ม.ค.2558 และหลังจากนั้นจะเริ่มจับกุมรถที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งหากรถคันใดยังอยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาต ศูนย์เอราวัณจะออกสติกเกอร์รับรองไปก่อนเพื่อให้สามารถชวยเหลือผู้ป่วยได้ ซึ่งรถที่มีใบอนุญาตแล้วจะต้องพกใบอนุญาตติดรถตลอดเวลาเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ