กักตัวกลุ่มเสี่ยง 6 คน ที่โคราช กลับจากกทม.-ระยอง
หลังพบชาวจังหวัดนครราชสีมา มีไทม์ไลน์ อยู่ในพื้นที่เสี่ยงกรุงเทพฯและจังหวัดระยอง ช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่(โควิด-19) นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ได้รับรายงานล่าสุดว่ามีผู้เข้าข่ายเสี่ยง 6 คน แยกเป็น ชาว อ.ปากช่อง 2 คน และ ชาว อ.เมือง 4 คน ทั้งหมด ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เข้ารายงานตัวทันที เมื่อเดินทางกลับมาถึงนับเป็นตัวอย่างที่ดี
อาการล่าสุดของบุคคลกลุ่มเสี่ยงทั้ง 6 คน แบ่งเป็น 3 คน ได้ตรวจคัดกรองไม่พบมีเชื้อโควิด-19 และอุณหภูมิร่างกายปกติ แต่เพื่อความสบายใจและเป็นไปตามมาตรการที่กำหนดรวมทั้งสร้างความเชื่อมั่น ปลอดภัยในจังหวัดนครราชสีมา จะต้องไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ส่วน 2 คน พักสังเกตอาการโรงพยาบาลปากช่องนานา และ 4 คน พักที่โรงพยาบาลเทพพารักษ์ อ.เมือง
กองทัพอากาศ ยืนยัน การรับช่วงต่อเที่ยวบินเข้าประเทศต้องรัดกุม
หลังการเปิดน่านฟ้าให้กองทัพอากาศต่างประเทศเข้ามาแวะพักเครื่องบินในประเทศช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) หลังเกิดกรณีทหารอียิปต์ติดโควิด-19 พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวว่า การเปิดน่านฟ้า ถือเป็นเรื่องปกติให้กับอากาศยานต่างประเทศที่ต้องการใช้ เพราะเป็นเรื่องกิจการสากลที่ประเทศทั่วโลกต้องเปิดให้มีการสัญจรไปมาตามปกติ แต่ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การควบคุมที่รัดกุม
ส่วนหลังจากที่มีการระงับเที่ยวบินของกองทัพอากาศอียิปต์แล้ว ในส่วนของประเทศอื่นมีการอนุญาตให้เข้ามา พล.อ.อ.มานัต กล่าวว่า หากประเทศใดที่มีความจำเป็นต้องผ่านน่านฟ้าเราก็ต้องเปิดให้ภายใต้กติกาที่รัดกุม คงบอกไม่ได้ว่ามีจำนวนมากน้อยแค่ไหน แต่มีการร้องขอเรื่องการขอผ่านน่านฟ้าเข้ามาตลอดเวลา โดยกลไกที่จะมารับช่วงต่อกองทัพอากาศต้องดำเนินการให้รัดกุม
ผู้บัญชาการทหารอากาศ ขอบคุณประชาชนที่ให้ความร่วมมือ จนทำให้เรารู้ว่าจะต่อสู้กับโควิด-19 อย่างไร ซึ่งอาจจะมีรอยรั่วหรือช่องโหว่ ก็จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหา เราไม่สามารถที่จะปิดประเทศหรืออยู่โดดเดี่ยวได้ ดังนั้นการติดต่อกับ180 ประเทศทั่วโลกยังมีความจำเป็น ขึ้นอยู่กับว่าจะยืดหยัดได้นานแค่ไหนบนความแข็งแกร่งของเราเอง หากประชาชนช่วยรัฐและร่วมมือกันก็จะช่วยกันดูแล และสร้างความแข็งแกร่งและปิดรูรั่วทั้งหมดได้
"อุตตม" ขอบคุณทุกคนที่ช่วยกันทำงานที่ก.คลัง "สนธิรัตน์" แถลงพรุ่งนี้พร้อมอำลาข้าราชการ
นาย
นาย
ด้านนาย
นักเศรษฐศาสตร์ สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จับตาความต่อเนื่องของทีมศก.ชุดใหม่
นายทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) ยอมรับว่ากังวลถึงการเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจจะส่งผลต่อความเชื่อมั่น 3 ด้าน คือ
-ความต่อเนื่องของการดำเนินนโยบายการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่เกิดการลงทุนต่อเนื่องในช่วง 4-5 ปี ที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ
-ความต่อเนื่องของการดำเนินนโยบายเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงเดือนก.ค.-ส.ค.
-ความไม่มั่นใจถึงการโหวตงบประมาณปี 2564 ช่วงเดือนก.ย. ซึ่งจากการเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจและความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นขณะนี้จะมีผลทำให้เกิดความล่าช้าเหมือนตอนโหวตงบประมาณปี 2563
อย่างไรก็ตาม มองว่าที่ผ่านมาการเดินหน้านโยบายด้านเศรษฐกิจของทีมเศรษฐกิจที่มีนายสมคิด เป็นหัวหน้าทีมทำได้ดีตามลำดับ และมองว่าช่วงเปลี่ยนผ่านอาจทำให้นโยบายการคลังสะดุด ขณะที่ข่าวชื่อบุคคลที่จะมาดูแลด้านเศรษฐกิจที่ออกมานั้น ตลาดไม่ได้มองที่ตัวบุคคล แต่จะมองภาพรวมหรือทีมที่เข้ามามากว่า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นสิ่งที่ตลาดกังวลที่สุด คือ ความต่อเนื่องของนโยบาย
นายทิม กล่าวว่า ขอฝากทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ถึงความต่อเนื่องและรวดเร็วในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการเยียวยา การฟื้นฟูการท่องเที่ยวในประเทศ และการทำ travel bubble ในบางประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น โดยมองกรณีทหารอิยิปต์ที่จังหวัดระยองอาจทำให้การทำนโยบายท่องเที่ยวสะดุดบ้าง แต่ไม่ถึงกับเป็นความเสี่ยง และมองว่าเป็นเรื่องของการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความระวังมากขึ้น
กกพ.ลดค่าเอฟที 0.83 สต. ช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค.
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการ กกพ.มีมติให้ปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บเดือนก.ย.-ธ.ค. 2563 ลงอีก 0.83 สตางค์ต่อหน่วย หรือเรียกเก็บค่าเอฟที -12.43 สตางค์ต่อหน่วย สะท้อนต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่แท้จริง ซึ่งลดลงจากเดิมเรียกเก็บที่ -11.60 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยลดลงเหลือ 3.63 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.64 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
สำหรับสาเหตุหลักของการปรับลดค่าเอฟทีงวดนี้ เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติที่ลดลงก่อนหน้านี้ และมีผลในงวดปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม กกพ.ยังคงต้องประเมินปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และยังไม่สามารถคาดการณ์ทิศทางปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลในทางลบ และเป็นภาระต่อการประมาณการค่าเอฟทีในงวดถัดไปด้วย