กรมควบคุมโรค เผยผลตรวจ ผู้ป่วยหญิงปอดติดเชื้อ ไม่ติดโควิด-19
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึง กรณีผู้ป่วยหญิงอายุราว 30 ปี อาศัยอยู่ย่านราษฎร์บูรณะ ต้องสงสัยติดเชื้อโควิด-19 ถูกส่งตัวจากรพ.เอกชนย่านราษฎร์บูรณะ มารักษาที่รพ.ศิริราช ด้วยอาการติดเชื้อที่ปอด ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ว่า กรมควบคุมโรค ได้ส่งทีมระบาดวิทยาลงพื้นที่สอบสวนโรค พร้อมเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งส่งตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (แล็บ) 3 แห่ง คือ รพ.จุฬาลงกรณ์ สถาบันบำราศนราดูร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ล่าสุด ผลแล็บทั้ง 3 แห่งออกมาแล้ว เป็นลบทั้งหมด แสดงว่าไม่มีการติดโควิด-19 ส่วนสาเหตุของอาการป่วยนั้นอยู่ที่แพทย์และสถานพยาบาลที่ทำการรักษา
กัก 3 คนโคราชเสี่ยง
นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย นพ.วิญญู จันทร์เนตร ผู้ช่วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา เพื่อประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จากเหตุการณ์ที่จ.ระยองและ คอนโด ที่สุขุมวิท ว่าจังหวัดได้แจ้งไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด ให้ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชนได้ตรวจสอบและขอให้ประชาชนที่เดินทางไปในพื้นที่ดังกล่าวรายงานตัวกับอาสาสมัครหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ภายใน 3 วัน
จากรายงาน พบว่ามีประชาชน 3 คน มารายงานตัว เดินทางกลับมาจากจังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 8-11 ก.ค.เป็น แม่-ลูก อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอปากช่อง มีอาการเป็นไข้ และเป็นหญิง อาศัยอยู่ในพื้นที่ ต.หมื่นไหว อ.เมือง มีอาการเจ็บคอ จึงได้ส่งทีมสอบสวนโรคเข้าตรวจสอบติดตามอาการอย่างใกล้ชิด พร้อมให้มีการกักตัวเองภายในที่พักเป็นเวลา 14 วัน แต่เพื่อเป็นการป้องกันที่เข้มงวด เตรียมให้มากักตัวในสถานที่ที่จังหวัดจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อไม่ให้มีการสัมผัสโรคเกิดขึ้น ทั้ง 3 คน ยังไม่มีการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 เพียงแต่มีอาการเข้าข่ายเท่านั้น จึงต้องมีการกักตัวในสถานที่ของรัฐและตรวจโรคอย่างละเอียดอีกครั้ง
“หมอธีระ” วิเคราะห์เราประมาท ต้องปรับกฎระเบียบคุมโควิด-19 ให้ปฎิบัติได้จริง
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายเรื่องโควิด-19 ว่า เป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด กรณีทหารอียิปต์ และ เด็กหญิงจากประเทศซูดาน เป็นกรณีที่เกิดขึ้นแล้วช่วยให้เราสามารถทราบความจริงว่า ระบบป้องกันและควบคุมโรคที่เรามีอยู่นั้น แม้จะสู้กับระลอกแรกมาได้ดี แต่ยังมีช่องโหว่อยู่มาก และอาจยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับระลอกสอง เนื่องจากพอกลุ่มประชากรมีความหลากหลายมากขึ้น รายละเอียดต่างๆย่อมต้องการการออกแบบให้เหมาะสมและเฉพาะกับแต่ละกลุ่ม เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากกรณีที่เกิดขึ้น
-การคัดกรองจากต้นทางนั้นมีโอกาสหลุดสูง แม้จะตรวจได้ผลลบก็ไม่ได้การันตีว่าจะไม่ติดเชื้อ และยังจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจที่ประเทศปลายทาง พร้อมการกักตัว 14 วันและตรวจซ้ำในระยะเวลาต่อมา
-การกักตัว ต้องลงรายละเอียดถึงสถานที่ ไม่ว่าจะ VIP แค่ไหน ก็ต้องรู้ล่วงหน้าว่ามันคือที่ไหน ได้มาตรฐานหรือไม่ เคร่งครัดหรือเปล่า ขืนปล่อยให้มีอิสระหรือมีเอกสิทธิ์จัดการเอง ก็จะเจอปัญหาอย่างที่เราเห็นกันในครั้งนี้
-การติดตามก็สำคัญยิ่งนัก ต้องหาทางทำให้คนที่เดินทางจากต่างประเทศนั้นยินยอมให้รัฐทราบว่าไปพักที่ใด เดินทางไปไหนอย่างไร วันเวลาใด ตลอดเวลาที่อยู่ในประเทศ ทั้งนี้ต้องรู้อยู่ตลอดไม่ใช่ต้องไปค้นหากล้องวงจรปิดแบบที่ทำกันในเหตุการณ์ครั้งนี้ เรื่องแบบนี้หากต้องบังคับ ก็ต้องบังคับ เพราะเป็นเรื่องสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชนชาวไทยทุกคน
รศ.นพ.ธีระ เชื่อว่า นายกฯและศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 (ศบค.) ทำงานอย่างเต็มที่ และไม่คิดว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้น แต่พอเกิดขึ้นมาแล้ว เราก็คงต้องยอมรับว่า เราคงโทษชาวต่างชาติที่ไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้แต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ กฎระเบียบนั้นออกมาได้ แต่หากบังคับใช้ไม่ได้ หรือไม่มีกลไกกำกับติดตามที่มีประสิทธิภาพ การแหกกฎย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ และนำพาความหายนะมาสู่เราได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนตัวประเมินว่า เราประมาทเกินไปและมั่นใจในระบบเดิมมากเกินไป ผนวกด้วยการชงมาตรการที่ต้องรับมือทั้งศึกนอกและศึกในไปพร้อมๆ กันโดยมิได้ประเมินศักยภาพของระบบว่าจะจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ทำให้การตัดสินใจปลดล็อกครั้งนี้มีโอกาสพลาดได้ จึงขอให้ปรับกระบวนการทัพใหม่
หอการค้า ประเมิน จ.ระยอง เสียหายวันละ 100- 200 ล้าน
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจและอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึง กรณีที่มี
สปสช.ดำเนินคดีเพิ่มอีก 63 คลินิก เรียกเงินคืนอีกกว่า 2.4 ล้าน
นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และ นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ รองเลขาธิการ
สปสช.ขยายผลตรวจสอบหน่วยบริการ ที่มีการเบิกจ่ายค่าบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในกลุ่มของโรคเมตาบอลิกเพิ่มเติมอีก 86 แห่ง เป็นโรงพยาบาลเอกชน 20 แห่ง และคลินิกเอกชน 66 แห่ง พบข้อมูลไม่ถูกต้อง 63 แห่ง เป็นจำนวนเงินที่ต้องเรียกคืนประมาณ 2.4 ล้านบาท แต่มีหน่วยบริการ 11 แห่งที่ขออุทธรณ์ผลการตรวจสอบ อีก 52 แห่งไม่อุทธรณ์
สำหรับประเด็นที่ตรวจพบ คือ ไม่มีเอกสารหลักฐานของประชาชนที่เข้ารับการตรวจคัดกรอง และวันที่ 30 ก.ค. ถึง 11 ส.ค.จะลงตรวจสอบรายละเอียดที่หน่วยบริการ จากนั้นจะเรียกเงินคืน พร้อมทั้งขยายการตรวจสอบไปยังรายการเบิกจ่ายทุกรายการในทุกหน่วยบริการทุกระดับ และระงับการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการทั้งหมดของ 52 หน่วยบริการในปีงบประมาณ 2563 เรียกคืนเงินจากทุกหน่วยบริการตามจำนวนที่ตรวจสอบพบว่าเบิกจ่ายไม่ถูกต้อง และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
CR:facebook สปสช.
แฟ้มภาพ