ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้ข้อมูลว่า เรื่องรีบด่วนหลังจากเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการ คือ จับให้ไว จับให้เร็ว จับให้ครอบคลุมและทั่วถึง เพราะเราไม่ควรปล่อยให้เกิดการตื่นตระหนกซึ่งจะมีผลเสียทางธุรกิจซ้ำเติมอย่างแน่นอน การเฝ้าระวังและติดตามสอบสวนโรค โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ๆที่ระบบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขไม่มีหรือมีแต่ทำไม่ได้เพราะวิถีชีวิตชาวเมือง จึงเสนอว่า
1.ต้องหาผู้แทนชุมชน ทั้งชุมชนแออัด และชุมชนที่อาศัยในแฟลต คอนโด หรือหมู่บ้าน อาจรวมที่ทำงานด้วย(ใช้HRได้) ทำหน้าที่เหมือน อสม. แล้วจัดมาติวเข้ม ออนไลน์ก็ได้
2.เรื่องการตรวจหา RNA ต้องหาทางให้แลปภาครัฐและเอกชน (ที่ทำมากกว่าภาครัฐอยู่) ที่ยังมีศักยภาพในการตรวจ ออกไปตรวจอย่าง proactive ในกลุ่มเสี่ยงให้ได้มากกว่านี้ ที่ผ่านมาน่าจะติดประเด็นงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยงกันไปมาอยู่
3.ถ้ามีการติดเชื้อใหม่เป็นกลุ่มต้องตรวจ RNA ควบคู่กับการตรวจ Antibodies เพื่อให้ติดตามโรคได้ครอบคลุมทันที
ประเด็นทั้งสามนี้รีบด่วนเพราะถ้าเกิดแบบเกาหลี ญี่ปุ่น หรือ สิงคโปร์ คนไทยจะตื่นตระหนกง่าย ทุกอย่างโดนปิดอีกรอบ แย่แน่
CR:ศ.นพ.นิธิ มหานนท์