การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลต่อความเครียดของประชาชน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย เสริมว่า อย่าเพิ่งคิดถึงการเร่งกลับมาใช้ชีวิตปกติเหมือนก่อนการระบาด พร้อมแนะวิธีจัดการความเครียด เช่น
-หางานอดิเรกที่ชอบทำหรือทำแล้วเพลิดเพลิน อย่างการปลูกต้นไม้, ร้องเพลง
-โดยเฉพาะการถ่ายรูป เพราะการถ่ายรูปจะทำให้ทุกคนยิ้ม ซึ่งการยิ้มจะช่วยกระตุ้นให้ระบบภายในร่างกายดีขึ้น
พร้อมแนะนำให้มองทุกสิ่งในแง่บวก หรือทุกเช้าที่ตื่นนอนให้ตั้งเป้าหมายว่าวันนี้จะต้องทำเรื่องสนุก ๆ อย่างน้อยวันละ 3 เรื่อง ถ้าทำเช่นนี้ติดต่อกัน 21 วัน ก็เชื่อว่าจะทำให้กลายเป็นคนคิดบวกได้ นพ.พรเทพ ระบุถึงกรณีที่ช่วงนี้ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจทำให้หลายคนเกิดความเครียดได้ง่ายมากขึ้นว่า ตามหลักการแพทย์แล้วถ้าไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ติดต่อกัน 7 วัน ถือว่าไม่มีปัญหา แต่ถ้ามีอาการอาเจียนหรือเกิดปัญหาเมื่อไม่ได้ดื่มควรปรึกษาแพทย์ พร้อมเปิดเผยข้อมูลว่า ผู้ที่ชอบดื่มเหล้าและเบียร์หากป่วยเป็นโรคโควิค-19 จะมีโอกาสเสียชีวิต
ด้านนพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต ยอมรับว่า จากผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตพบว่าปัจจุบันประชาชนมีความเครียดสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่โรคโควิด-19 อาจไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้คนมีความเครียดมากขึ้น เนื่องจากปกติแล้วความเครียดจะเกิดได้ต้องมีหลายสาเหตุประกอบเข้าด้วยกัน โควิด-19 จึงเป็นแค่หนึ่งในหลายสาเหตุเท่านั้น พร้อมแนะให้คอยสังเกตตัวเองว่ามีปัจจัยใดคอยกระตุ้นให้เกิดความเครียดหรือไม่ และแนะนำวิธีสังเกตความเครียด โดยให้ดูจาก 3 ปัจจัยหลักที่ประกอบด้วย อารมณ์, ความคิด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางลบ เช่น โกรธง่ายหรือโกรธรุนแรงขึ้น, มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น สิ่งเหล่านี้จะบ่งบอกระดับความเครียดภายในของแต่ละคนได้ แต่ละคนก็มีวิธีจัดการความเครียดไม่เหมือนกัน หากใครจัดการไม่ได้ควรขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง, ปรึกษาจิตแพทย์ หรือเบอร์สายด่วน 1323 พร้อมระบุว่า การไม่มีความเครียดเลยก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี เนื่องจากจะทำให้ ขาดความระมัดระวังในการใช้ชีวิต ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตใจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญสูงกว่าผู้ที่ไม่ดื่มถึง 8 เท่า และผู้ที่สูบบุหรี่หากป่วยด้วยโรคนี้จะมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 18 เท่า