จากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าต่อไป หน้ากากอนามัย N95 ที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องใช้จะเกิดการขาดแคลนทั่วโลก ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีการวิจัยวิธีการทำความสะอาดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างปลอดภัย
ผศ.นพ.มล.ทยา กิติยากร อาจารย์แพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปกติแล้วหน้ากากอนามัยชนิด N95 ทางการแพทย์จะใช้แล้วทิ้ง แต่สถานการณ์ที่คาดการณ์ว่าจะขาดแคลน จึงจำเป็นต้องหาวิธีเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งมีหลายวิธี แต่ในครั้งนี้ได้ทำการวิจัย 2 วิธี ในการฆ่าเชื้อ คำนึง 3 ข้อ คือ สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้หรือไม่ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่สะสมจากใบหน้าได้หรือไม่และทำลายประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัย
-วิธีการทำความสะอาดด้วยการอบความร้อนจากเครื่องอบจานร้อน อุณหภูมิไม่เกิน 65-75 องศา เป็นเวลา 15-20 นาที ความร้อนสามารถทำลายเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ และยังทำลายเชื้อแบคทีเรีย โดยเส้นใยผ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง
-วิธีการทำความสะอาดอบด้วยฉายแสง UV-C พบว่าการฉายแสง เวลา 20-21 นาที สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้เช่นกัน และผลการทดสอบยังพบว่า ฉายแสงนาน 4 ชั่วโมง ไม่ส่งผลเสียต่อเส้นใยผ้าหน้ากากอนามัย
-จากการทดสอบเส้นใยหน้ากากอนามัยสามารถฉายแสง UV-C หรืออบความร้อน ได้ถึง 8 ครั้ง แต่ถ้าสายรัดหูหลวมไม่ควรนำมาใช้งาน
อย่างไรตามโรงพยาบาลรามาธิบดีมีเครื่อง UV-C มี 35 กระจายในโซนที่มีการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยแพทย์สามารถนำมาอยในเครื่องนี้ เป็นเวลา 20 นาที
ส่วนเครื่องอบความร้อนไม่ควรเกิน 75 องศา และเครื่อง UV-C จะต้องดูความแรงของหลอดไฟเริ่มต้นที่ 4 วัตส์ การว่างหน้ากากอนามัยยิ่งใช้หลอดไฟจะได้ผลดี ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ประชาชนไปหาซื้อเครื่องทั้ง 2 ชนิด เพราะประชาชนในกลุ่มทั่วไปสามาารถใช้หน้ากกาแบบผ้า และหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แบบสีฟ้า สีเขียว ทดแทนได้
...