ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นัดพิเศษ เรื่องการช่วยเหลือประชาชนในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า มาตรการของธปท.เป็นเรื่องการรักษาระบบเศรษฐกิจ
ในส่วนกระทรวงการคลังและหน่วยงานอื่นจะดูแลอีกสองมาตรการหลัก คือ
-การเยียวยาประชาชน
-การดูแลเศรษฐกิจในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า
คาดว่าทั้ง 3 มาตรการนี้ต้องใช้เงินราวร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) โดยเงินที่ใช้จะมาจาก 2 แหล่ง คือ
-งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563
-เงินกู้
นายสมคิด มั่นใจว่า มาตรการที่มีอยู่ครอบคลุมทุกมิติและจะสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในช่วงวิกฤตนี้ได้ และจากนี้จะพยายามหามาตรการที่ดีออกมาช่วยประชาชนเพิ่ม ส่วนการตัดงบประมาณของแต่ละกระทรวงมาช่วยในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เบื้องต้นทุกกระทรวงเห็นชอบ แต่กระทรวงการคลังจะไปหารือต่อว่าจะนำงบประมาณของแต่ละกระทรวงมาได้เพียงใด
ด้านนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่า ธปท. มี 4 มาตรการสำคัญที่จะช่วยเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ
-2 มาตรการแรกจะขอให้ครม.ออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ให้ธปท.สามารถดำเนินกิจกรรมได้เอง ประกอบด้วย
- การจัดทำเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ(Soft loan)
- การซื้อตราสารหนี้ที่อยู่ในตลาดตราสารหนี้ที่ยังมีสภาพดีและมีการระดมทุนจากภาคเอกชนอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เพื่อช่วยพยุงตลาดให้เดินต่อไปได้ คาดว่าจะทำรายละเอียดและเสนอครม.วันอังคารที่ 7 เม.ย.
-อีกสองมาตรการ ประกอบด้วย
-เห็นชอบให้เลื่อนขยายเวลาคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1,000,000 บาทออกไปเป็นเดือนสิงหาคม 2564
-ลดเงินสมทบของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องนำส่งใช้หนี้ในกองทุนสถาบันกองทุนฟื้นฟูซึ่งเป็นหนี้ที่ค้างมาจากวิกฤตต้มย้ำกุ้ง 2540 เหลือร้อยละ 0.23 เป็นเวลา 2 ปี