ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่ผลสำรวจภาวะตลาดแรงงานไทยในช่วงสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 พบว่า
-แรงงาน ร้อยละ 63 ไม่สามารถทำงาน ที่บ้านได้ เพราะเป็นผู้ที่ทำงานกับเครื่องมือเฉพาะ หรือมีงานที่เกี่ยวข้องกับการพบปะผู้คน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวิศวกร นายช่างคุมเครื่องจักร เจ้าหน้าที่คุมท่าอากาศยาน เจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือ คนขับรถบรรทุก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับสามล้อ แท็กซี่ เป็นต้น
-แรงงานในเกอบทุกภูมิภาคได้รับผลกระทบจากโควิด-19ค่อนข้างชัดเจน
-ที่ผ่านมาผู้ประกอบการพยายามรักษาการจ้างงานไว้และไม่เปิดรับคนเพิ่ม
-ในอนาคตผู้ประกอบการให้ความเห็นว่า อาจปรับตัวโดยการลดเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ รวมถึงลดเวลาทำงานหรือให้สมัครใจ Leave without Pay
-ในอนาคต โควิด-19 จะส่งผลต่อแรงงานกลุ่มเสี่ยง อาทิ แรงงานในภาคที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว, แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานบริหาร, แรงงานในภาคการผลิต
-โควิด-19กระทบโดยตรงต่อรายได้แรงงานในภาคที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
-กลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นผู้จ้างงานตนเอง (Self-employed) ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับลูกจ้าง และกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดใหญ่
-มาตรการปิดสถานที่เสี่ยงชั่วคราวจะส่งผลต่อผู้มีงานทำ 20% เช่น ผู้ที่ทำงานในภาคเกี่ยวกับการท่องเที่ยว นักร้อง นักแสดง บริกร ตามสถานบันเทิงต่างๆ
-แรงงานเพียงร้อยละ6 ที่ทำงานที่บ้านได้ เพราะเป็นกลุ่มที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการทำงาน สามารถทำงานได้ทุกที่ หรือไม่จำเป็นต้องออกไปพบปะผู้คน เช่น ผู้บริหาร โปรแกรมเมอร์ นักการเงิน ฯลฯ
-ผู้มีงานทำในภาคการศึกษาที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น โรงเรียนเอกชน โรงเรียนกวดวิชา อาจได้รับผลกระทบจากการปิดโรงเรียน แต่บางส่วนอาจเปลี่ยนมาสอนออนไลน์ได้