ทำความเข้าใจ!! 'หูดับ-หูอื้อ' อาการของเส้นประสาทหูชั้นในเสื่อมเฉียบพลัน พร้อมคำแนะนำในการดูแลหู

16 ตุลาคม 2562, 15:54น.

A PHP Error was encountered

Severity: Notice

Message: Undefined offset: 77

Filename: news/detail.php

Line Number: 400


            “ช่วยด้วย!! อยู่ดีๆ ก็หูดับ” เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยคงจะเคยประสบปัญหาอยู่ดีๆ ก็หูดับ หูก็อื้อ ทำให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันค่อนข้างลำบาก เพราะใครพูดอะไรด้วยก็ได้ยินไม่ชัด ติดขัดน่ารำคาญ บางคนเป็นเกือบอาทิตย์ก็มี จนทำให้เกิดความสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับหูของเรา และมีโอกาสหายได้หรือไม่ ด้วยความห่วงใยจาก อ. พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีจึงได้ออกมาอธิบายถึงอาการหูดับเฉียบพลัน พร้อมคำแนะนำในการดูแลหู เพื่อให้เข้าใจกับอาการดังกล่าวมากขึ้น

             
อาการหูดับฉับพลัน



            โดยส่วนใหญ่แล้วอาการหูดับเฉียบพลัน หมายถึง การที่เส้นประสาทหูชั้นในเสื่อมเฉียบพลันนั่นเอง โดยจะเกิดขึ้นมาเอง หรืออยู่ดีๆ ก็มีอาการหูดับ หูอื้อ บางคนก็ได้ยินคล้ายเสียงจิ้งหรีดอยู่ในหู จนทำให้การได้ยินของเราลดลงอย่างกะทันหัน ซึ่งมักจะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็อาจเกิดจากลักษณะอาการที่ใกล้เคียงกับโรคอื่น เช่น ติดเชื้อไวรัส โรคไข้หวัดใหญ่ คางทูม หัด หัดเยอรมัน ฯลฯ  หรืออาการน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน น้ำในหูชั้นในเกิดการโป่งพอง หรือเคยเกิดอุบัติเหตุทางศีรษะมาก่อนแล้วไปกระทบกระเทือนหูชั้นใน ทั้งนี้ อาการหูดับเฉียบพลันอาจมีอาการอื่นๆ อย่างเวียนศีรษะบ้านหมุนซึ่งจะเป็นมากกว่า 20 นาที ร่วมด้วย

            
แล้วเราจะรักษาหายหรือไม่?



            อาการนี้สามารถรักษาหายได้แต่ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้หูดับเฉียบพลันด้วย ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกได้ว่าจะหายทุกคน ซึ่งในระยะเวลา 1 อาทิตย์ หรือ 2 อาทิตย์แรก หากการได้ยินกลับมาถือว่าเป็นสัญญาณดีที่ในอนาคตอาจหายได้ขาดได้ ในส่วนของคนที่ไม่หายให้ไปตรวจเพิ่มเติมกับแพทย์เฉพาะทางเพราะอาจมาจากปัญหาอื่น อย่าง ขี้หูอุดตัน เนื้องอกก้านสมอง หรือท่อน้ำในหูชั้นในอักเสบ ฯลฯ เพื่อทำการรักษาให้ถูกวิธี

            คำแนะนำในการดูแลหู



            ด้วยความที่อาการหูดับเฉียบพลันส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุการป้องกันจึงอาจทำได้ยาก แต่เราสามารถดูแลหูเพื่อไม่ให้เส้นประสาทหูเสื่อมในอนาคตได้ ไม่ว่าจะ ระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อไวรัสที่อาจเข้าไปติดในหูชั้นใน เรื่องการกระแทกของศีรษะที่อาจมีผลไปกระทบต่อหูชั้นใน การฟังเพลง หรือดูภาพยนตร์ ละครเสียงดังๆ ผ่านหูฟัง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับและระยะเวลาในการฟัง แต่หากใครที่ต้องทำงานในที่เสียงดัง ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอย่าง ตัวอุดหู หรือที่ครอบหู





Cr. รามาแชนแนล Rama Channel



 

ข่าวทั้งหมด

X