*นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ชี้ให้เห็นปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในภาคธุรกิจ*

10 ตุลาคม 2557, 13:01น.


ปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทย นายสมพร มณีรัตนะกูล นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้ การใช้ระบบซอฟต์แวร์ในประเทศไทย หลักๆจะใช้ในภาคธุรกิจ กับใช้ในภาคครัวเรือน ซึ่งในภาคธุรกิจส่วนใหญ่จะใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธ์ แต่ในร้อยละ30 จะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะซอฟต์แวร์ เหล่านี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง และมีความปลอดภัยสูง ยากต่อการถูกเจาะระบบข้อมูลของบริษัทและยังจะส่งผลให้ธุรกิจสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมั่งคง ส่วนในภาคธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ อีกร้อยละ70 จะเป็นบริษัทธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ไม่เน้นการให้ความสำคัญกับเรื่องระบบของซอฟต์แวร์ เนื้อจากผู้ประกอบการอาจจะคิดว่าการติดตั้งระบบอาจไม่คุ้มกับการลงทุน หรือเพียงใช้งานแค่โปรแกรมขั้นพื้นฐาน เท่านั้น เช่น โปรแกรมเวิร์ด หรือโปรแกรมพาวเวอร์พอยต์ เป็นต้น  ซึ่งในมุมนี้หากเป็นการลงทุนในต่างประเทศก็มีความเสี่ยงต่อบริษัทสูงในการถูกมองจากผู้ค้ารายอื่น ในเรื่องความไม่มั่นคงในระบบเทคโนโลยีของบริษัท หรือหากมีหน่วยงานที่คอยตรวจสอบมาตรวจพบ  ก็อาจจะถึงขั้นหยุดระงับการดำเนินการของบริษัท ในระหว่างการตรวจสอบ และอาจถึงขั้นมีการดำเนินคดีฟ้องร้องกับบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ส่วนการใช้ซอฟต์แวร์ในภาคครัวเรือนในประเทศไทย ก็มีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์ในจำนวนที่สูงมาก  เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อความบันเทิงในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น  ซึ่งซอฟต์แวร์ เหล่านี้มีความเสี่ยงต่อไวรัสคอมพิวเตอร์สูง  และง่ายต่อการถูกโจรกรรมข้อมูลในระบบของคอมพิวเตอร์อีกด้วยแต่อย่างไรก็ตามในประเทศไทยก็มีหน่วยงานที่คอยดำเนินการตรวจสอบการกระทำผิดเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ เช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา ,กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้นโดยผลจากการสำรวจของ องค์กรพันธมิตรส่งเสริมซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ ก็พบว่าอัตราการติดตั้งซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ หรือไลไซนต์ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศไทย มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ของซอฟต์แวร์ ถึง 869ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ หรือราว 28,500ล้านบาท



วิรวินห์

ข่าวทั้งหมด

X