การคัดเลือก สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะไม่มีการชี้แจง ข้อครหาเรื่องการคัดเลือกสมาชิกสปช. เพราะ บุคคลที่ไม่ลงสมัคร ตามกติกาก็จะไม่มีโอกาสได้รับเลือก ซึ่งขั้นตอนการคัดเลือกสปช.คณะกรรมการพยายามหาตัวแทนจากพรรคการเมือง ให้มาเข้าร่วมแล้ว แต่บางพรรคการเมืองไม่ส่งรายชื่อสมัคร หรือ บางพรรคการเมืองส่งรายชื่อบุคคลสมัครแต่บุคคลนั้นๆคณะกรรมการพิจารณาแล้วพบว่า ไม่ได้มีความเชื่อมโยงทางการเมือง โดยสปช.ถือเป็นเวทีการปฏิรูปที่เป็นทางการมากที่สุด เพราะ มุ่งเน้นสร้างความปรองดอง แต่คนไทยบางกลุ่มมองว่า สมาชิกสปช.ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อมโยงกันซึ่งความเป็นจริงไม่เกี่ยวข้องกัน
ซึ่งขั้นตอน หลังการนี้ นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกเป็นสมาชิก สปช. เพื่อให้นายกรัฐมนตรี พิจารณา จัดตั้งเวทีปฏิรูปคู่ขนานในแต่ละด้าน และในอนาคตอาจมีแนวทางนำบุคคลที่ไม่ได้ยื่นสมัคร. สปช. เข้าร่วมการปฏิรูปในเวทีต่างๆด้วย
สำหรับประกาศและคำสั่งของ คสช.ที่สังคมมีความสับสนว่าฉบับใดจะเป็นกฎหมายฉบับใดเป็นการออกคำสั่ง ขณะนี้รัฐบาลได้ส่งเรื่องให้สำนักงานกฤษฎีกาตีความประกาศและคำสั่งของ คสช.ทุกฉบับ ว่า สิ่งใดเป็นกฎหมายและสิ่งใดเป็นคำสั่ง เนื่องจากฉบับที่เป็นกฎหมายหากจะมีการแก้ไขจะต้องประกาศเป็นกฎหมายใหม่ แต่ฉบับใดที่เป็นคำสั่ง หากจะแก้ไขต้องดำเนินการประกาศเป็นมติ ครม.
ด้านการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ตลอด1เดือน คสช. ได้ส่งร่าง พ.ร.บ. ไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสนช.แล้ว 21 ฉบับ ส่วน คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ส่งร่างพ.ร.บ.ไป 13 ฉบับ รวม 34 ฉบับในจำนวนนี้มี 4 ฉบับที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งว่ามีการดำเนินการที่รวดเร็วทันเหตุการณ์ ส่วนจำนวนร่าง พ.ร.บ. ที่ขณะนี้ยังอยู่ในความรับผิดชอบของ ครม. 87 ฉบับ ซึ่ง ครม.กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ และจะส่งเรื่องต่อให้สนช.พิจารณาโดยเร็ว