6 หน่วยงานร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

28 กันยายน 2557, 13:06น.


เนื่องในวันป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโลก ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรมนี้เป็นปีที่ 7 แล้ว ผ่าน 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมปศุสัตว์  กรมควบคุมโรค คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์ความร่วมมือองค์กรอนามัยโลกด้านค้นคว้า และอบรมโรคติดเชื้อ ไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานเสาวภา สภากาชาด  และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชนที่รักสัตว์เลี้ยง ตระหนักถึงโรคพิษสุนัขบ้ าและไม่ลืมที่จะพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกัน



โดยในการจัดกิจกรรมที่เดอะมอล์ล งามวงศ์วาน ในวันนี้กิจกรรมที่น่าสนใจมีมากมาย เช่น การแสดงความสามารถในการดมกลิ่นของสุนัขจากด่านกักสัตว์สุวรรณภูมิในการดมกลิ่น  การเสวนาเรื่องความรับผิดชอบของเจ้าของสุนัขในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า การเสวนาภาษาคนเลี้ยงสัตว์ โดยเจ้าของสุนัขแสนรู้ที่ชื่อมะขวิด ที่โด่งดังในสื่อออนไลน์ และการแสดงโชว์จากมะขวิด รวมถึงการสาธิตการทำอาหารสุนัขและแมว สาธิตหารทำชุดให้สุนัข  และการประกวดสุนัข กิจกรรมจะมีต่อเนื่องตั้งแต่ 10.30 น.จนถึง 17.00น.



ทั้งนี้ 6 หน่วยงานที่ร่วมรณรงค์จัดกิจกรรมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ต่างมีความเห็นตรงกันว่า ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการดูแลและป้องกันให้ประเทศไทยปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าได้ โดยเรายังสามารถแบ่งกลุ่มจังหวัดที่พบโรคพิษสุนัขบ้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มจังหวัดที่พบโรคพิษสุนัขบ้าในคนและในสัตว์ 5 จังหวัด กลุ่มจังหวัดที่พบโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ แต่ไม่พบในคน 26 จังหวัด  และกลุ่มจังหวัดที่ไม่พบโรคพิษสุนัขบ้าในคนและในสัตว์ 46 จังหวัด ซึ่งหน่วยงานรัฐพยายามที่จะทำให้ทุกจังหวัดของประเทศไทยปลอดโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงมีการผนึกกำลังร่วมกับประเทศในกลุ่มอาเซียน วางเป้าหมายป้องกันดูแลและกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศในกลุ่มอาเซียนภายในปี 2563



ส่วนในเรื่องของการฝังไมโครชิพให้กับสุนัข สัตวแพทย์หญิง เบ็ญจวรรณ สิฐฌนาสัย หัวหน้ากลุ่มควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า การฝังไมโครชิพให้สุนัข เป็นการระบุตัวตนให้ทราบว่าสัตว์มีเจ้าของและอาศัยอยู่ในพื้นที่ใด เพื่อแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัด หรือ กรณีสัตว์เลี้ยงพัดหลง ให้สามารถตามหาได้ง่ายขึ้น โดยไมโครชิพที่ฝังจะมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ฝังไว้ที่บริเวณกลางหลังช่วงขาหน้าของสุนัข ซึ่งถือเป็นจุดที่ปลอดภัย ใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที วิธีการคล้ายกับการฉีดวัคซีนทั่วไป ที่ผ่านมาเคยมีสุนัขหายและตามหาได้จริง



ส่วนการป้องกันดูแลโรคพิษสุนัขบ้า ในกรุงเทพมหานตร ต้องยอมรับว่า การดูแลยากลำบากมากกว่าในพื้นที่อื่น ซึ่งในปีนี้ กรุงเทพมหานครตรวจพบสุนัขที่ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งหมด 41 ตัว ซึ่งมากกว่าปี 2556 ที่มีสุนัขติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า 31 ตัว ทั้งนี้กรุงเทพมหานครก็พยายามที่จะควบคุมดูแลอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าส่วนหนึ่งมาจากจำนวนสุนัขจรจัดที่อยู่ในกรุงเทพมหานครมีมากกว่า 1 แสนตัว



*-*

ข่าวทั้งหมด

X