“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “การสร้างความปรองดอง”ตามที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. มีนโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม และพยายามเร่งเดินหน้าเพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยมีการขับเคลื่อนสร้างความปรองดองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหลายฝ่ายให้ความสนใจและติดตามการดำเนินงานดังกล่าว โดยได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 1,534 คน ระหว่างวันที่ 8 – 13 กันยายน 2557 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนพึงพอใจต่อ “การสร้างความปรองดอง” ณ วันนี้ มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1พึงพอใจ ร้อยละ 43.16 เพราะ ประชาชนตื่นตัว มีส่วนร่วมมากขึ้น การทะเลาะเบาะแว้งและการชุมนุมเคลื่อนไหวลดน้อยลง ฯลฯ
อันดับ 2พึงพอใจมาก ร้อยละ 38.14 เพราะ สถานการณ์โดยรวมดีขึ้น บ้านเมืองเป็นระเบียบและสงบสุข ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ ฯลฯ
อันดับ 3ไม่ค่อยพอใจร้อยละ 12.32 เพราะ ยังมีการสร้างกระแส ปล่อยข่าว โจมตีกันไปมา หลายฝ่ายที่กระทำผิดยังไม่มีการลงโทษ ฯลฯ
อันดับ 4ไม่พอใจเลยร้อยละ 6.38 เพราะ ถูกปิดกั้น ควบคุม ขาดความเป็นอิสระ เป็นปัญหาที่แก้ไขยาก ฯลฯ
2. “การสร้างความปรองดอง” ที่เป็นรูปธรรม ที่ประชาชนพึงพอใจ คือ
อันดับ 1ยุติการเคลื่อนไหว ชุมนุม หรือการเรียกร้องต่างๆ ร้อยละ 83.57
อันดับ 2ทุกฝ่ายกระตือรือร้น มีส่วนร่วมและให้ความร่วมมืออย่างจริงจังร้อยละ 82.07
อันดับ 3มีการจัดกิจกรรมสร้างความปรองดอง คืนความสุข กระจายทั่วทุกภูมิภาคร้อยละ 77.57
อันดับ 4รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ปลูกจิตสำนึก ให้คนไทยเกิดความรักและความสามัคคีร้อยละ 70.60
อันดับ 5ผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนร้อยละ 64.47
3. “ความไม่ปรองดอง” ที่ยังหลงเหลืออยู่และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสุขของคนไทย ณ วันนี้
อันดับ 1ยังคงมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ทำให้เกิดการแตกแยกร้อยละ 79.99
อันดับ 2การสร้างกระแส โจมตี ใส่ร้ายซึ่งกันและกันร้อยละ76.73
อันดับ 3คนบางกลุ่มยังมีการเคลื่อนไหว เรียกร้อง คัดค้านร้อยละ 67.14
อันดับ 4การปล่อยข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยุแหย่โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียร้อยละ 63.10
อันดับ 5การหวาดระแวง ไม่พูดคุยกัน พูดคุยแบบไม่จริงใจร้อยละ 62.58
4. “ปัญหา อุปสรรค” ที่ “การสร้างความปรองดอง” สำเร็จยากและล่าช้า คือ
อันดับ 1ปัญหาความแตกแยกเกิดขึ้นอย่างรุนแรง สะสมมานาน จนทำให้เกิดการแบ่งแยกอย่างชัดเจนร้อยละ 78.36
อันดับ 2ความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน เห็นแก่พวกพ้องร้อยละร้อยละ 75.95
อันดับ 3มุมมองความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ถือทิฐิ ไม่เปิดใจรับฟังร้อยละ 74.58
อันดับ 4ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการศึกษาร้อยละ 73.14
อันดับ 5การบังคับใช้กฎหมายยังไม่เอาจริงเอาจัง มีการยืดหยุ่น จนทำให้ไม่เกรงกลัว ไม่ปฏิบัติตาม และยังมีการท้าทายร้อยละ 66.69
5. ข้อเสนอแนะต่อ “การสร้างความปรองดองที่ยั่งยืน” คือ
อันดับ 1รณรงค์ กระตุ้น ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม สร้างจิตสำนึกที่ดีตั้งแต่วัยเยาว์ร้อยละ 80.18
อันดับ 2เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร้อยละ 77.44
อันดับ 3ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เน้นความยุติธรรมและสร้างความเท่าเทียมร้อยละ 74.25
อันดับ 4รัฐบาลต้องดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยใช้กฎหมายเป็นหลักร้อยละ 71.12
อันดับ 5ควรต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นที่มีอยู่ในสังคมทุกรูปแบบร้อยละ 61.28
...