นักสิ่งแวดล้อมห่วงขยะพลาสติกล้นเมืองไทย ติดอันดับ6โลก

05 มิถุนายน 2561, 16:35น.


ปัญหาขยะในทะเลของประเทศไทย ในการเสวนา เรื่อง ขยะ!คิดก่อนทิ้ง, ทิ้งแล้วไปไหน เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิ.ย. 2561 โดยนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากหลายภาคส่วน ได้ร่วมแสดงความเห็น ซึ่งดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม ยอมรับว่า สถานการณ์ขณะนี้ย้ำแย่มากจนถึงขั้นวิกฤต ปัญหาคือขยะพลาสติก และขยะทะเลที่สะสมต่อเนื่อง จนทำให้ประเทศไทยติดอันดับ 6 ของโลกที่มีขยะทางทะเลมากที่สุด ขณะที่ทั่วโลกได้เห็นความสำคัญของพลาสติกที่เป็นสาเหตุทำให้สัตว์ทะเลหายาก สูญพันธุ์ และส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านการท่องเที่ยว รวมไปถึงปัญหาไมโคร พลาสติกที่มีภาวะเสี่ยงของการสะสมจำนวนมาก ดังที่ปรากฎจากข่าวปลาวาฬกินพลาสติกตาย ใน จ.สงขลา ซึ่งทั่วโลกต่างจับตามองเหตุการณ์นี้ของไทย และในอนาคตหากประเทศไทยไม่มีการแก้ไขปัญหา ปรับเปลี่บนพฤติกรรม จะส่งผลต่อการส่งออกอาหารทะเล ส่งผลต่อรายได้ของไทย รวมถึงในอนาคต หากไม่ดำเนินการใดเลย อีก 30 ปีจะมีขยะพลาสติกมากกว่าจำนวนปลาในทะเล





ด้านการแก้ไขปัญหา ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญต้องแก้ 2 ทาง คือลดปริมาณขยะ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมของคนไทยไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำ เพราะขยะเหล่านี้ตัไหลลงสู่ทะเล และอีกวิธีคือปฏิเสธรับภาชนะพลาสติกจากร้านสะดวกซื้อที่ปัจจุบันยังเป็นพฤติกรรมเคยชิน ดร.ปริญญา ยังกล่าวถึงสภาวะโลกร้อนว่า สามารถเกิดขึ้นจริง เพราะก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซต์ได้ถูกปล่อยมากขึ้น 200 ส่วน ต่อ 1,000,000 ส่วน ส่งผลให้น้ำแข็งทั่วโลกละลาย น้ำทะเลสูงขึ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ดังที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าถ้ามนุษย์ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โลกจะสูญพันธุ์และอยู่ได้ไม่ถึง 100 ปี อย่างไรก็ในขณะนี้ก็ยังไม่สายเกินไปหากช่วยกันดูแล



ด้านเชอรี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ ผู้แทนกลุ่ม Little Help แสดงความคิดเห็นว่า หลายคนยังมองว่าเรื่องขยะในโลกเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วมีขยะที่ไหลลงสู่ทะเลปีละ 8,000,000 ตัน และยังคงอยู่บนโลกหลายพันปี โดยไม่ย่อยสลาย เพียงแต่ถูกทำให้มีขนาดเล็กเป็นไมโครพลาสติก และ ไหลทางทะเลไปสู่ประเทศอื่นๆ ดังนั้นจึงต้องอาศัยภาคประชาชนช่วยกันลดใช้พลาสติก หรือนำมากลับใช้ใหม่



สำหรับการดำเนินงานด้านนโยบายของภาครัฐเพื่อแก้ไขปัญหา นายภาณุวัฒน์ อ่อนเทศ หัวหน้ากลุ่มงานแผนงานและประเมินกองนโยบายและแผนงาน สำนักสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สำหรับกรุงเทพมหานครมีปริมาณการใช้ขยะต่อคนต่อวัน 3 กิโลกรัม ซึ่งเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร ก็ได้จัดเก็บ 3 วิธี ประกอบด้วย นำเข้าเตาเผ่าเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันผลิตได้มากกว่า 5 เมกะวัตต์ ส่วนต่อมาคือนำไปทำปุ๋ย และฝังกลบ ในปริมาณร้อยละ 80 นอกจากนี้ในอนาคตยังมีแผนที่จะเพิ่มปริมาณเตาเผามากขึ้นเพื่อเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน





อย่างไรก็ตามก่อนที่จะถึงกระบวนการกำจัดของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร ประชาชนต้องเริ่มจัดเก็บขยะ ตั้งแต่ต้นทาง ด้วยวิธี ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้

ข่าวทั้งหมด

X